การบริหารโดยหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารโดยหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ครูของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 155 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970 : 607) แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ลักษณะแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าt (t- test) โดยหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
- ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารโดยหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.20) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักความโปร่งใส อยู่ในระดับมาก (= 4.24) รองลงมาคือ ด้านหลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับมาก (= 4.23) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก (= 4.16) ตามลำดับ
- ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารโดยหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา พบว่า ครูที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารโดยหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทั้งโดยรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
นพพล สุรนัคครินทร์. (2547). การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบลตามทัศนะของประชาชน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระสุทธิศักดิ์ สุภกิจฺโจ. (2554). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพโรจน์ พรหมสาส์น. (2544). การบริหารจัดการที่ดี. วารสารดำรงราชานุภาพ. (พฤษภาคม-ธันวาคม 2543): 24 - 25.
รัตนาภรณ์ ส่งเสริม และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2558). การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
รับขวัญ ภาคภูมิ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
วรากร สังข์วงษา. (2553). ประสิทธิผลการบริหารจัดการองค์การด้านงานผังเมือง : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตาบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา. ดุษฎีนิพนธ์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ศิรินาถ นันทวัฒนภิรมย์. (2547). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมมาภิบาลอำเภอเมืองลำพูน.การศึกษาคันคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์, ชวลิต, ประภวานนท์, จิรศักดิ์ จิยะนันทน์ และสุดา สุวรรณาภิรมย์. (2545). องค์การและการจัดการฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). ประกาศเถรสมาคมว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พ.ศ. 2553. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (เอกสารประกอบการประชุม).
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.