การพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อมลสิริ มหาสุรเดช

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ สังกัดกรุงเทพมหานคร  ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า


  1. สภาพการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (m= 4.02) เมื่อเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดำเนินการ อยู่ในระดับมาก (m= 4.21) รองลงมา คือ ด้านการปรับปรุงและแก้ไข อยู่ในระดับมาก (m= 4.04) ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวางแผน อยู่ในระดับมาก (m= 3.85)

  2. ปัญหาการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ สังกัดกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ ครูมีภาระงานมากไม่สมดุลกับการใช้เทคนิคการสอนคิดวิเคราะห์ในศตวรรษที่ 21 เวลาที่ใช้ในการจัดฝึกอบรมและพัฒนาครูมีน้อยเกินไป ขาดการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาครูอย่างเพียงพอ ขาดการนิเทศการสอนอย่างต่อเนื่อง และคู่มือการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เข้าใจยาก โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับปัญหาในทุกด้าน เช่น ควรกำหนดเวลาที่ใช้ในการจัดฝึกอบรมและพัฒนาครูให้เหมาะสม ควรมีการนิเทศการสอนอย่างต่อเนื่อง ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาครูอย่างเพียงพอ และควรส่งเสริมให้ครูจัดการสอนแบบทีมเพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ให้เด็ก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์.
ดิเรก วรรณเศียร.(2559). แนวคิดการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://regis.dusit.ac.th/21.pdf.
ตุล เชื้อจำรูญ. (2555). สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมณี. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัทธนันท์ รชตะไพโรจน์. (2549). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.
พิสิษฐ์ แก้ววรรณะ. (2557). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. วิทยานิพนธ์ครุศสาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเรือง และวรางคนา ทองนพคุณ. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายอนาคต. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://wwwqlf.or.th.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานการวิจัยสถานภาพการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สุปราณี จินตวร. (2550). ความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สุวัจน์ ศรีสวัสดิ์. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อำพล นามเชียงใต้. (2552). ความต้องการพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.