การบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนวัดปุรณาวาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารงานวิชาการ โดยหลักธรรมมาภิบาล ของโรงเรียนวัดปุรณาวาส สังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการ โดยหลักธรรมมาภิบาล ของโรงเรียนวัดปุรณาวาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และอธิบายด้วยฐานนิยม
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนวัดปุรณาวาส สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวม อยู่ในระดับมาก (m= 4.21) เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับ ดังนี้ ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก (m= 4.27) รองลงมาคือ ด้านหลักความคุ้มค่า อยู่ในระดับมาก (m= 4.24) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก (m= 4.17)
2) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ของโรงเรียนวัดปุรณาวาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ในแต่ละด้าน ตามความคิดเห็นของครู สรุปปัญหาดังนี้ 1.ผู้บริหารให้ความสำคัญด้านโครงการวิชาการน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับกิจกรรมด้านอื่น ๆ 2.ครูและบุคคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในหลักกฎหมายการศึกษา 3.ได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ 4.ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และ 5.ฝ่ายวิชาการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมน้อยมาก
Article Details
References
ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์. (2543).กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดีในการปกครองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
พระสุธิศักดิ์ สุภกิจฺโจ. (2555). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิชัย เสงี่ยมจิตต์. (2552). การบริหารสถาบันเพื่อความเป็นเลิศ. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ภาณี สัจจาพันธ์. (2554). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน): 89-98.
มณีรัตน์ ภิญโญภาพสกุล. (2549). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
รัตนาภรณ์ ส่งเสริม. (2557). การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
รับขวัญ ภาคภูมิ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศิรินารถ นันทวัฒนภิรมย์. (2547). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาล อําเภอเมืองลําพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภรัตน์ ทรายทอง. (2554). การมีสาวนร่วมในการบริหารงานวิชาการและความผูกพันต่อโรงเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา.
สถิตย์ ทองวิจิตร. (2550). พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดหมน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุทธิพร บุญส่ง. (2550). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.