บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดของโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล 5G
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาระดับนโยบายของความอยู่รอดของโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล ภาวะผู้นำผู้บริหาร ปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยภายในองค์กร และการพัฒนาการบริหาร 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล และ 3) เพื่อได้รูปแบบการพัฒนาการบริหารที่มีต่อความอยู่รอดของโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 420 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง ในการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความอยู่รอดของโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล ภาวะผู้นำผู้บริหาร ปัจจัยภายนอกองค์กร การพัฒนาการบริหาร อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยภายในองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อความอยู่รอดของโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลเรียงลำดับความสำคัญได้แก่ ปัจจัยภายในองค์กร ปัจจัยภายนอกองค์กร การพัฒนาการบริหาร และภาวะผู้นำผู้บริหาร และ 3) รูปแบบการพัฒนาการบริหารที่มีต่อความอยู่รอดของโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล 5G มีลักษณะเป็นแผนภูมิสี่เหลี่ยม ประกอบด้วย ปัจจัยภายในองค์กรเป็นฐาน มีปัจจัยภายนอก และการพัฒนาการบริหารอยู่ตรงกลางเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีภาวะผู้นำผู้บริหารคอยส่งเสริมให้โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลอยู่รอดได้ ซึ่งทั้งหมดสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
นครินทร์ ชานะมัย. (2561). แนวทางบูรณาการกลยุทธ์บริหารงานสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย 4.0. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2.
ปณชัย อารีเพิ่มพร. (2560). ทีวีดิจิทัลไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป ใครจะคืนใบตามเจ๊ติ๋ม. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562, จาก https://thestandard.co/thai-digital-tv-future/.
พระราชบัญญัติ. (2553). พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 50 ก.
โสภิดา คำย่อย. (2559). กลยุทธ์การแข่งขันของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลช่องพีพีทีวี และสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลช่องวัน ภายใต้พันธมิตรธุรกิจไลน์ทีวี. หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
BrandInside admin. (2017). วิเคราะห์ทางรอดของสื่อทีวีท่ามกลางสงครามชิงเรทติ้งกับผลกระทบจากสื่อดิจิทัลในอนาคต. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562, จาก https://brandinside. asia/analysis-media-tv-rating-digital/.
Marketeer. (2562). โฆษณา 2019 สื่อไหนเติบโตสุด. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2562, จาก https://marketee ronline.co/archives/91900.
Lindeman RH, Merenda PF, Gold RZ.. (1980). Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Scott, Foresman, Glenview, IL,.
Weiss, R.. (1972).The Provision of Social Relationship. In Z. Rubin (Ed), (Doing Unto others Englewood Cliff. N. J: Prentice-Hall.