การศึกษาปัญหาและการลดปัญหาการติดตั้งระบบสุขาภิบาลในอาคาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบสุขาภิบาลภายในอาคารโครงการหนึ่ง ปัญหาที่พบคือต้องทำงานร่วมกับระบบอื่น ๆ เช่น ระบบโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น ควรที่จะต้องจัดทำแผนประสานงานเพื่อที่จะส่งผลให้ไปยังจุดมุ่งหมาย ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ได้ศึกษาปัญหาระบบสุขาภิบาล เพื่อเป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อกำหนดแนวทางในการลดความบกพร่องต่าง ๆ ในการติดตั้งระบบสุขาภิบาลให้น้อยลง กระบวนการศึกษานี้ บ่งชี้ปัญหาและจัดลำดับของปัญหาโดยใช้การประชุมกลุ่มย่อย พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ในการติดตั้งระบบสุขาภิบาล ประกอบด้วย ความล่าช้าของงานความบกพร่องในการติดตั้ง และค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น จากนั้นได้ทำการนำ MS Project มาวางแผนและควบคุมของโครงการก่อสร้างห้องน้ำรวม พบว่า ปัญหาในส่วนของการติดตั้งและค่าใช้จ่ายลดน้อยลง (จำนวนปัญหา 10 ปัญหา เหลือเพียง 1 ปัญหา ค่าใช้จ่ายลดลง 299,800 บาทและเวลาที่สูญเสียลดลง 45 วัน) จึงทำให้การบริหารงานด้านระบบสุขาภิบาลและระบบงานด้านอื่นมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ได้ตามข้อกำหนดของแผนงาน
Article Details
References
ระบบสุขาภิบาลในบ้าน: โสภณ เหล่าสุวรรณ อนุกรรมการประชาสัมพันธ์ สภาวิศวกร http://www.coe.or.th
วิบูลย์ สุรสาคร. (2548). ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของโครงการก่อสร้าง. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 10.
Andia , T. Minatob. (2004). Design Documents Quality in the Japanese Construction Industry: Factors Influencing and Impacts on Construction Process. International Journal of Project Management. 21 (1): 537-546.
James Robert Taylor. (1998). Quality Control Systems Procedures for Planning Quality Programs. McGraw-Hill: Book Company
Mark A. Fryman. (2002). Quality and Process Improvement. DELMAR Thomson Learnning USA.
The Project Management Institute. (n.d.), Available from: http://www.method123.com/project-lifecycle.php
Vivek Nanda. (2005). Quality Management System Handbook for Product Development Companies. CRC PRESS: New York USA.