ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออมและทัศนคติของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซีบางปะกอก กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พจรินทร์ รังศรีสัมพันธ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออมและทัศนคติของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซีบางปะกอก กรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์และทัศนคติของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซีบางปะกอก กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการธนาคารออมสินสาขาบิ๊กซีบางปะกอก กรุงเทพมหานคร จำนวน 400  คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติไคสแควร์


            ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง  31 – 35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 3,000 - 6,000บาท และประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/อาชีพอิสระ ด้านพฤติกรรมการออมและรูปแบบการออมของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่พบว่า การจัดส่วนเงินออมต่อรายได้ในแต่ละเดือนไว้ประมาณ 1 – 10 % ของรายได้  เหตุผลหลักในการเลือกออมคือเพื่อซื้อทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เป็นต้น การเลือกออมทรัพย์กับสถาบันการเงินประเภทเงินฝากออมทรัพย์ รูปแบบการออมนอกสถาบันการเงินคือ เพื่อซื้อบ้าน ที่ดิน รถยนต์ และทราบถึงประโยชน์การเก็บออมในรูปแบบต่างๆจากแหล่งสื่อสารต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์หนังสือพิมพ์ ทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจ ผลการวิจัย พบว่าก่อนตัดสินใจออม มีความรู้ ความเข้าใจ ในรูปแบบการออมทรัพย์เป็นอย่างดี ระดับความสำคัญมาก การออมทรัพย์เป็นการลดความเสี่ยงด้านการเงินเป็นอย่างดี  ระดับความสำคัญมากที่สุด อัตราผลตอบแทนเป็นเหตุผลหลักในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออม  ระดับความสำคัญมาก ด้านความเชื่อการออม ผลการวิจัย พบว่า เชื่อว่าการออมทรัพย์คือการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตนเองและครอบครัว ระดับความสำคัญมากที่สุด เชื่อว่าระดับความเสี่ยงมีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออม ระดับความสำคัญมาก เชื่อว่าอัตราผลตอบแทนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออม ระดับความสำคัญมาก เชื่อว่าผลตอบแทนจากการออมในระบบมีความแน่นอนมากกว่าการออมนอกระบบ ระดับความสำคัญมากที่สุด ด้านพฤติกรรมการออม ผลการวิจัย พบว่า มีการออมทรัพย์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ระดับความสำคัญมากมีความพึงพอใจต่อการได้รับสิทธิประโยชน์จากการออม เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรส่วนต่าง ระดับความสำคัญมาท่านมีมีการออมวันนี้ เพื่อเตรียมพร้อมทางการเงินก่อนวัยเกษียณอายุงาน ระดับความสำคัญมากที่สุด  ผลการวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นการกำหนดแนวทางในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทเงินฝากและการให้บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตภาส เลิศสงคราม. (2555).พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์.สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชารวี บุตรบำรุง. (2555).รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ ของประชาชนอายุระหว่าง 30-40 ปีในเขตดุสิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ณัฐดนัย ใจชน. (2555) .ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริการธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธนาคารออมสิน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.gsb.or.th.
ปพิชญา บุญศรี. (2555).พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรทิพย์ เกิดขำ และ ศิรภัสสร โรจนสัญชัยกุล. (2553).พฤติกรรมการออมส่วนบุคคลของพนักงาน บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน).ปริญญาศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรวรรณ ศิลมัฐ. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของธนาคารออมสิน สาขาแกลง จังหวัดระยอง.การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สิรินดา กลิ่นจันทร์หอม. (2555).พฤติกรรมการออมเงินของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.