การจัดการความขัดแย้งของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่-กาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุความขัดแย้ง และ (2) รูปแบบการจัดการความขัดแย้งของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่-กาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความขัดแย้ง คือ 1) ด้านความสัมพันธ์ เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม 2) ด้านข้อมูล เกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน 3) ด้านค่านิยม เกิดจากพื้นที่ดำเนินโครงการกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม 4) ด้านโครงสร้าง เกิดจากการส่งมอบพื้นที่โครงการ แนวก่อสร้างพาดผ่านและพื้นที่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น และ 5) ด้านผลประโยชน์ เกิดจากการประเมินค่าชดเชยที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และ (2) การจัดการความขัดแย้ง ได้แก่ 1) ด้านการยอมรับ ด้วยกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่เป็นที่ยอมรับและการเข้ามามีส่วนร่วมของคู่ขัดแย้งทุกฝ่าย 2) ด้านการประนีประนอม โดยการให้รัฐกับประชาชนหาแนวทางและความต้องการในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และ 3) ด้านการร่วมมือ ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นผู้ร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหา และรัฐควรเป็นผู้สนับสนุนและให้ข้อมูลทางวิชาการและหลีกเลี่ยงประเด็นปัญหา
Article Details
References
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2546). อาวุธมีชีวิต?: แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2558). การเมืองวัฒนธรรมไทย: ว่าด้วยความทรงจำ วาทกรรม อำนาจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.
พิทยา สอนประสิทธิ์. (2560). การจัดการความขัดแย้งของการก่อสร้างชายฝั่ง (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร-ลาดกระบัง.
มนูญ รัตนอุบล. (2545). การวิเคราะห์ผลประโยชน์และต้นทุนของโครงการจัดรูปที่ดินในจังหวัดมหาสารคาม(วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัชรินทร์ ศรีชุมพร. (2552). ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนชุมชนสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ต่อกรณีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2548). การเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อเปลี่ยนจากการเผชิญหน้าไปสู่ความร่วมมือ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. (2553). สังคมวิทยาของความแตกแยกในระบบสังคมการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย.
Gittinger, J. P. (1982). Economic analysis of agricultural projects (2nded., completly rev. and expanded). Baltimore: Johns Hopkins University Press.
Heywood, A. (2002). Politics (2nd ed.). New York: Palgrave Macmillan.
Moore, C. W. (2003). The mediation process: Practical strategies for resolving conflict (3rd ed. rev.). San Francisco: Jossey-Bass.
Morris, C. (2004). Managing conflict in health care settings: Principles, practices & policies. Bangkok: Prepared for a workshop at King Prajadhikop’s Institute.
Verba, S., & Nie, N. H. (1972). Participation in America: Political Democracy and Social Equality. New York: Harper & Row.