บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และ (2) แนวทางในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 306 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีการปฏิบัติงานตามบทบาท โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกันโรค และด้านการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก และ (2.1) ปัญหาและอุปสรรค คือ ขาดความร่วมมือในการสวมหน้ากาก การเว้นระยะห่าง เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ประชาชนไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ปัญหาในการสื่อสาร งบประมาณไม่เพียงพอ และบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ (2.2) แนวทางแก้ไข คือ สร้างความตระหนักถึงความรุนแรงของโรค รัฐต้องเพิ่มงบประมาณสนับสนุน ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องความเป็นมา สาเหตุ ความรุนแรงของโรค และการป้องกันรักษา เพิ่มศักยภาพด้านการสื่อสาร และจัดหาบุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัครให้เพียงพอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(4), 92-103.

จันทิมา เหล็กไหล. (2560). ปัจจัยพยากรณ์การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปิยากร หวังมหาพร. (2556). พัฒนาการเชิงนโยบายอาสาสมัครไทย: จากความมั่นคงสู่การพัฒนาสังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 43(5), 16-17.

ภัทรา บุรารักษ์, สุพรรณี เบอร์แนล และกนกวรรณ เอี่ยมชัย. (2564). โครงข่าวยอำนาจและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการสร้างความชอบธรรมระหว่างการระบาดโรคติดเชื้อโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ยุบลวรรณ ตั่นเธียรรัตน์. (2553). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย.

วิทยา ชินบุตร และนภัทร ภักดีสรวิชญ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 304-318.

สหัทยา ถึงรัตน์. (2556). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิทธิพร เกษจ้อย. (2560). บทบาทการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1), 163-174.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2564). สรุปรายงานเกี่ยวกับไวรัสไคโรนา (COVID-19) ประจำวันที่ 10 เมษายน 2564. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2564, จาก https://www.nrct.go.th/Portals/0/covid19/covid19-report-640110.pdf

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2555). แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังเหตุการณ์ของ SRRT เครือข่ายระดับตำบล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำเริง แหยงกระโทก, ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์, ภานุวัฒน์ ปานเกตุ และวรารัตน์ กิจพจน์. (2563). ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

เสาวลักษณ์ วินัยธรรม. (2552). บทบาทของเทศบาลนครระยองต่อการแก้ไขปัญหาประชากรแฝง: กรณีศึกษาหญิงอาชีพพิเศษ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภเนตร์ ชัยนา. (2562). แนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 วันที่ 15 มีนาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2032-2045.

Cohen, B. J. (1979). Schauem’s outline of Theory and Problems of Introduction to Sociology. New York: McGraw-Hill.

Linton, R. (1936). The Study of Man. New York: D. Apleton Century.

Sorg, J. D. (1983). A Typology of implementation behaviors of street-level bureaucrats. Review of Policy Research, 2(3), 391-406.

Stogdil, R. M. (1959). Individual behavior and group achievement. New York: Oxford University Press.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.