ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์องค์กรกับความภักดีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

Main Article Content

เอเซีย สุขาเขิน
ทิพวรรณ ชุมคง
รอยยาน หะยีมิง
อนัญญา ไชยจักร
กรรณิการ์ แท้วิรุฬห์
ภรณ์ธิดา อรรถธรรม
ภัทรวรินทร์ ทองจันทร์
สุริยันต์ บุญเลิศวรกุล
ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทรรศนะของนักศึกษาที่มีต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 2) ศึกษาความภักดีของนักศึกษาที่มีต่อมหาวิทยาลัย 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความภักดี
4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทรรศนะต่อภาพลักษณ์กับความภักดี 5) จัดทำข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.985 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบมีการทดสอบเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) ทรรศนะของนักศึกษาต่อภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านบุคคลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 2) ระดับความภักดีของนักศึกษาที่มีต่อมหาวิทยาลัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านทัศนคติมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3) นักศึกษาที่มีเพศ ชั้นปี หลักสูตร ประสบการณ์เข้าร่วมกิจกรรมต่างกันมีความภักดีที่มีต่อมหาวิทยาลัยโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 4) ทรรศนะต่อภาพลักษณ์องค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความภักดีของนักศึกษา โดยภาพรวมในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.01 และ 5) นักศึกษาได้เสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร ด้านหลักสูตรด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก และ ด้านคุณลักษณะบุคลากรและนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤชณัท แสนทวี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อชื่อเสียงองค์กรและการจัดการชื่อเสียงองค์กรธุรกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นติ้ง.

จุฑารัตน์ ทิพย์บุญทรัพย์ และศศิธร โรจน์สงคราม. (2560). การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R E-Journal, 4(1), 56-69.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. (2547). การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต โดยใช้ระยะเวลาศึกษาภายในสองปีการศึกษาและมากกว่าสองปีการศึกษา. วารสารการศึกษาพยาบาล, 16(1), 71-78.

ปพณ ภัควรกาญจน์. (2559). ภาพลักษณ์ของมหาลัยวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีของนิสิตปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประภาวรรณ ตระกูลเกษมสุข. (2560). อิทธิพลของคุณภาพการบริการ ความพึงพอใจของนักศึกษาและภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย ต่อความภักดีของนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัยเอกชนไทย.วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 14(2), 106-128.

พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2540). ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

เพ็ญนภา วัยเวก. (2562). การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า. วารสารสารสนเทศ, 18(1), 41-53.

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีเชิงพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 27(1), 220-231.

รุจา ภู่ไพบูลย์, นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ, และยุวดี เกตสัมพันธ์. (2560). ภาพลักษณ์พยาบาลไทยในสื่อหนังสือพิมพ์ ระหว่าง พ.ศ. 2547-2558. วารสารสภาการพยาบาล, 32(1), 5-17.

วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์, พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์, ชูชัย สมิทธิไกร และพิมพ์ชนก เครือสุคนธ์ (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(1), 24-37.

ศรีสกุล งามบุญแถม, สมจิตร ล้วนจำเริญ และประพันธ์ วงศ์บางโพ. (2562). อิทธิพลของคุณภาพความสัมพันธ์ ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัย และคุณภาพบริการที่มีผลต่อความภักดีของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรามคำแหง, 2(2), 17-31.

ศรุดา ชัยสุวรรณ, กฤษฎา วัฒนศักดิ์, และจักรี บูรณวงศ์สวัสดิ์. (2563). ความอยู่รอดปลอดภัยในภาวะชะลอตัวของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 612-621.

ศิริรัตน์ ชุณคล้าย. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. นนทบุรี: ออฟเซ็ท แพรส.

สาวิตรี สุวรรณโณ. (2561). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในทัศนะของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 3(1), 1-6.

สุกัญญา ส่งสวัสดิ์. (2560). ความผูกพันต่อองค์กรของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 4(1), 3-24.

สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์. (2563). อิทธิพลของพฤติกรรมการสร้างคุณค่าร่วมกันที่มีต่อความพึงพอใจและภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,14(3), 502-517.

อนุรักษ์ นวพรไพศาล. (2558). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ, 9(2), 1-11.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การพัฒนาองค์การ: ประเด็นทบทวน สู่การประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการชุมชน.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(6), 24-48.

Bartz, A. E. (1999). Basic statistical concepts. (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Bennis, W. G. (1969). Organization Development: Its Nature, Origins and Prospects. Mass: Addison-Wesley.

Best W. John. (1997). Research in Education. Boston MA.: Allyn and Bacon.

Oliver, R. L. (1999). Whence customer loyalty. Journal of Marketing, 63(4), 33-44.

Skogland, I., & Siguaw, J. A. (2004). Are your satisfied customers loyal. Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly, 45(3), 221-234.

Worthington, S., Russell-Bennett, R., and Hartel, C. (2010). A tri-dimensional approach for auditing brand loyalty. Journal of Brand Management, 17(4), 243–253.