แรงจูงใจของผู้บริโภคและพฤติกรรมการซื้อแว่นสายตา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อแว่นสายตาผู้บริโภค จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการซื้อแว่นสายตาผู้บริโภค จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลและแรงจูงใจของพฤติกรรมการซื้อแว่นสายตาผู้บริโภค จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ซื้อแว่นสายตาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน ใช้สูตรการคำนวณของ Cochran (1977) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95และยอมรับค่าความคลาดเคลื่อนได้ร้อยละ 5 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการซื้อแว่นสายตาผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นิยมเลือกซื้อแว่นสายตาที่ สถานที่บริการตรวจวัดสายตาทั่วไป มากที่สุด เหตุผลที่สนับสนุนการตัดสินใจเลือกซื้อแว่นสายตา คือ ความเชื่อมั่นในการตรวจวัดค่าสายตา ความถี่ในการใช้แว่นสายตาส่วนใหญ่ ใช้สำหรับอ่านหนังสือ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการซื้อน้อยกว่า 5,000 บาท ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ ตนเอง จำนวนแว่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
คือ 1 อัน 2) แรงจูงใจในการซื้อแว่นสายตาผู้บริโภค จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านบริการหลังการขาย ด้านการดูแลลูกค้า ด้านคุณภาพ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านความปลอดภัย 3) ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อแว่นสายตา มีความสัมพันธ์ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
References
จรูญ ชิดนายี, วิรงค์รอง จารุชาต และ ศศิธร ชิดยายี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความล้าของสายตากับการตรวจสมรรถภาพทางสายตา ในกลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 7(2), 47-56.
จิตรกมล สังข์เพชร. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า สาขาสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ชญานนท์ ใช้สง่า. (2560). ปัจจัยความไว้วางใจในตราสินค้า และชุมชนออนไลน์ของตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางเครือข่ายสังคมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชุมพูนุท อารัญภาณุ. (2556). ส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการเลือกซื้อทองคำรูปพรรณของประชากรในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการตลาดและการสื่อสาร, 1(4), 59.
ไตรภพ ศักดิ์ศรชัย. (2556). พฤติกรรมของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการซื้อแว่นสายตา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนพร คำทิพย์ และรวิดา วิริยกิจจา. (2561). แรงจูงใจและพฤติกรรมในการใช้บริการ Mobile-Banking ของธนาคารออมสิน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
นรัสนันท์ วัชระมณีกุล. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านแว่นตาในภาคตะวันตกของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
นิภาพรรณ จันทรา. (2557). พฤติกรรมการซื้อที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อแว่นตาของผู้ชายเมโทรเซ็กชวลในเขต กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ประกิจ จิ๋วพัฒนกุล. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อทองคำของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
พรทิพย์ สุติยะ. (2550). ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในอำเภอเมืองเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พัณธิตรา แก้วมา. (2556). พฤติกรรมการเลือกซื้อแว่นตาของผู้บริโภค ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.
ภัทรา รอดดำรง และ สุจิตรา รอดสมบุญ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมความงามคอลลาเจนผ่านทางเฟซบุ๊ค (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิกานดา รัตนพงศ์ปกรณ์. (2558). อิทธิพลของค่านิยม การบอกเล่าปากต่อปากและการโฆษณาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศรสวรรค์ สิริวัฒนเศรษฐ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้าไนกี้ (NIKE) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, และ คณะ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิสิทธิ์พัฒน จำกัด.
สมาคมส่งเสริมวิชาการแว่นตาของประเทศไทย. (2558). วันชาวแว่นตาครั้งที่ 17 ครบรอบ 39 ปี. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมวิชาการแว่นตาของประเทศไทย.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2555). กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก http://www.thaispa.go.th/spa2013/web/web_new/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). ความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพดวงตาจากการใช้คอมพิวเตอร์แลโทรศัพท์มือถือ. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จากhttp://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries22.html
สิรินัดดา ศิริสาคร. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องประดับเงิน ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริมา ศิริพรพันธ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อแว่นตาในตลาดนัดที่จังหวัดเลย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อภิสรา เพชรอยู่ และ ณักษ์ กุลิสร์. (2559). ความรู้ความเข้าใจ แรงจูงใจและทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคข้าวไรซ์เบอร์รี่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Sharma, I. P. (2018). Impact of myopia and high myopia [Slide]. Retrieved 9 December 2021, from https://www.slideshare.net/indrapsharma/impact-of-myopia-and-high-myopia
Kotler, P. and Keller, K. L. (2012). Marketing Management. 13th ed. New Jersey: Prentice Hall.