การส่งเสริมเทคโนโลยีคอลเซ็นเตอร์ (Call center) การดูแลสุขภาพ และการจัดการชีวิตของผู้สูงอายุยุค 5G

Main Article Content

ณัฏฐชัย จันทร์ทิพย์
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
วิชิต สุรดินทร์กูร
สุดา สุวรรณาภิรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการส่งเสริมเทคโนโลยีคอลเซ็นเตอร์ (Call center)
ของผู้สูงอายุ ยุค 5G 2) ระดับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ยุค 5G และ 3) ระดับการจัดการชีวิตของผู้สูงอายุ
ยุค 5G การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชาชนที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 50 เขต ตามที่มีทะเบียนบ้าน ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ครัวเรือนละ 1 คน เขตละ 8 ครัวเรือน ๆ ละ 1 คน เป็นเพศชายหรือเพศหญิง อายุระหว่าง 60 – 70 ปี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 65.50 ส่วนใหญ่อายุ 65 - 70 ปี ร้อยละ 66.00 ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพธุรกิจครอบครัว ร้อยละ 52.75 ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (บาท) ต่ำกว่า 10,000 ร้อยละ 37.00 1) เทคโนโลยี Call center ของผู้สูงอายุ ยุค 5G ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุยุค 5G ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) การจัดการชีวิตของผู้สูงอายุ ยุค 5G ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความสะดวก อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรข้องกับการดูแลผู้สูงอายุควรพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารโดยมุ่งเน้นยังกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีให้กับผู้สูงอายุให้เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิตินันทน์ ผิวนิล. (2559). การเข้าถึงบริการโทรคมนาคม และการสื่อสารออนไลน์ของผู้สูงอายุไทย. วารสาร กสทช., ประจำปี 2559, 407-441.

ณัฐรพี ใจงาม อรนุช ชูศรี รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย และรังสรรค์ มาระเพ็ญ. (2561). แนวคิดการจัดการภาวะสุขภาพของบุคคลและครอบครัวที่มี สมาชิกป่วยด้วยโรคเรื้อรัง.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(3), 1-9.

ธีระพงศ์ สันติภพ. (2553).ผู้สูงอายุกับการเข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ. ใน สุชาดา ทวีสิทธิ์ และ สวรัย บุณยมานนท์. ประชากรและสังคม 2553: คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. เอกสารวิชาการสถาบัน วิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล หมายเลข 372. นครปฐม: ประชากรและสังคม.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พัชรินทร์ พันธ์พานิชย์. (2559). การศึกษาการส่งมอบงานจากบันทึกเหตุการณ์ในศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าโดยใช้ Process Mining รูปแบบ Social Network Miner (Handover of Work) (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์ และสรานันทน์ อนุชน. (2561). เทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 27-32.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2564). มส.ผส.จัดเวที วิถีชีวิตใหม่สังคมผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล.ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564 จาก https://thaitgri.org/?p=39113

ศิริรัตน์ วงศ์ประกรณ์กุล. (2563). ยุคใหม่ของการดูแลสุขภาพด้วยระบบนิเวศทางธุรกิจและเทเลเฮลธ์. วารสารMahidol R2R e-Journal, 7(2), 1-15.

สมาน ลอยฟ้า. (2554).ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 29(2), 53-64.

สยามรัฐ. (2560). "เปิดมุมมอง" / สูงวัยไทยแลนด์...อยู่อย่างไรในยุค 4.0. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จากhttps://siamrath.co.th/n/21850

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558ข). รายงานเชิงวิเคราะห์เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของ ผู้สูงอายุในประเทศ พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อภิษฎา เหล่าวัฒนพงษ์. (2554).ความต้องการและแนวทางในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุด้านอาชีพ: โครงการส่งเสริมอาชีพ พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ, 22(3), 56-67.

อรรถพล สาธิตคณิตกุล. (2558). ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยกับเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในยุคหน้า.ค้นเมื่อ3 พฤษภาคม 2559,จาก http://www.telecomjournalthailand.com/ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

อารีย์ มยังพงษ์. (2556). สภาพและความต้องการการฝึกอบรมด้าน ICT ของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 6(1), 108-119.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational & Psychological Measurement, 30, 607-610.

UIH digital Infrastructure & solutions BENCHACHINDA. (2564). 5G คืออะไร? เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายน้องใหม่ ใกล้ตัวกว่าที่คิด. ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2564,จาก https://www.uih.co.th/th/ knowledge/5g

United Nations. (2013). World Population Prospects, the 2012 Revision. Retrieved 17 May 2021, from https://www.un.org/en/development/desa/publications/world-populationprospects

-the-2012-revision.html