การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้ากรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนปลาร้าหลน นิคมสงเคราะห์ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

นภัสวรรณ คุ้มครอง
ภิรายุ แสนบุดดา
อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางในการพัฒนาการจัดจำหน่ายสินค้าของวิสาหกิจชุมชนปลาร้าหลนนิคมสงเคราะห์และ 2) เพื่อพัฒนาการจัดจำหน่ายสินค้าของวิสาหกิจชุมชนปลาร้าหลนนิคมสงเคราะห์ใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าและอาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95
และระดับค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 46 – 55 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาท สื่อในการเลือกซื้อสินค้า พบว่า ตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประเภท Facebook มีความถี่ในการซื้อสินค้าออนไลน์ 1-2 ครั้งต่อเดือน ดังนั้น สถานการณ์ดังกล่าวผู้วิจัยได้ปรึกษาหารือกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาร้าหลนนิคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม พบว่า ในการวางจำหน่ายปลาร้าหลนในช่วงโควิด-19 นั้นประสบปัญหา จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสภาพทางการตลาดในปัจจุบัน เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์และเพิ่มรายได้ให้ผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธานินทร์ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13).กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารในจังหวัดสงขลา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(4),42-51.

สุทธิชัย เกศยานนท์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). การนำเสนอตัวตนต่อสังคม การมีปฏิสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคม ประสบการณ์ที่ดี และการสื่อสารระหว่างผู้บริโภค กับผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคใน 27 กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Godey, B. et al. (2016). Social Media Marketing Efforts of Luxury Brands: Influence on Brand Equity and Consumer Behavior. Journal of Business Research, 69(12), 5833-5841.

Gorla, N., Somers, T., & Wong, B. (2010). Organizational Impact of System Quality, Information Quality, and Service Quality. The Journal of Strategic Information Systems 19(3), 207-228.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.