การสร้างฐานเสียงของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่สังกัดพรรคการเมืองช่วงปี พ.ศ.2540-2557
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สาเหตุและวิธีการสร้างฐานเสียงของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่สังกัดพรรคการเมือง 2) ความสัมพันธ์ในการสร้างฐานเสียงทางการเมืองระหว่างสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่สังกัดพรรคการเมืองกับพรรคการเมือง และ 3) ปัจจัยและองค์ประกอบของการสร้างฐานเสียงของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่สังกัดพรรคการเมือง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตลอดจนใช้วิธีการสังเกตความคิดเห็น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสังกัดพรรคการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2557 จำนวน 11 คน ใช้วิธีหาแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุ (1) เพื่อการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ โดยใช้การสื่อสารทางการเมืองมาเป็นเครื่องมือสำคัญ และ (2) ต้องการรักษาฐานเสียงเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ จากการสนับสนุนของกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่ และพรรคการเมืองโดยใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นเครื่องมือ การสร้างฐานเสียง คือ (1) การสร้างฐานเสียงจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และ (2) การสนับสนุนจากเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ 2) สมาชิกสภาได้ใช้บทบาทของพรรคการเมืองที่สังกัดในการสร้างฐานเสียงและคะแนนนิยมอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านนโยบาย ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีและการลงพื้นที่ของพรรคการเมือง ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อการสร้างฐานเสียงของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นอย่างยิ่ง 3) ปัจจัยและองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) ภาพลักษณ์ส่วนตัวที่มีคุณลักษณะพิเศษ เช่น เป็นคนที่มีความประนีประนอม อ่อนน้อมถ่อมตน ไหวพริบ เฉลียวฉลาด และพูดจาไพเราะ (2) บทบาทของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร โดยจะต้องลงพื้นที่พบปะประชาชนอย่างสม่ำเสมอ สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ และ (3) บทบาทของพรรคการเมือง โดยให้สาขาพรรคและแกนนำเป็นตัวแทนของพรรคในการประชาสัมพันธ์ประสานงาน ติดต่อกับผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่
Article Details
References
ณัฐพงศ์ บุญเหลือ และสุวิชา วรวิเชียรวงษ์. (2561). นักการเมืองถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 163-173.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2563). การเมืองเรื่องเลือกตั้งและปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองและผู้สมัคร: วิเคราะห์จากการเลือกตั้ง 3 กค. 2554. King Prajadhipok’s Institute Journal, 9(2), 5–28.
ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา, ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ และพรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2562). การสร้างฐานอำนาจของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(ตุลาคม), 143-156.
รุ่งเกียรติ เอี้ยวสุขสันต์. (2550). การสร้างฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมืองศึกษาเฉพาะกรณีพรรคประชาธิปัตย์ในจังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2542). ระบบอุปถัมภ์และการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วารุณี ลีเลิศพันธ์. (2560). การสร้างฐานคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อคิน รพีพัฒน์. (2533). การศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนในการวิจัยเชิงคุณภาพใน คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2539). ระบบอุปถัมภ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Pongsapit, A., & Kuwinpun, P. (2002). Patronage system. (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
Rattanadilok Na Phuket, P. (1998). Election and Election: The Prosperity and Depression of the Three Parties Politics in Bangkok. Bangkok: Tara Research and Production Center Krirk University.
Yalch, R. F. (1975). Attribution Theory and Voter Choice, in Advances in Consumer Research Volume 02, eds. Mary Jane Schlinger: Association for Consumer Research.