การพัฒนาวิธีการลดต้นทุนการผลิตไม้กวาดดอกหญ้าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสตรี ทำไม้กวาดดอกแขมบ้านโคกสี อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

สุรพงศ์ อินทรภักดิ์
ศรายุทธ ขวัญเมือง
อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไม้กวาดดอกหญ้าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสตรีทำไม้กวาดดอกแขมบ้านโคกสี อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม และ 2) พัฒนาการลดต้นทุนในการผลิตไม้กวาดดอกหญ้าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสตรีทำไม้กวาดดอกแขมบ้านโคกสี อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน เป็นผู้ที่ผลิตไม้กวาดดอกหญ้าของกลุ่มอาชีพสตรีทำไม้กวาดดอกแขมบ้านโคกสี ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง ทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูล
เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า เมื่อทำการเพิ่มกระบวนการตากด้ามไม้กวาด โดยได้นำด้ามไม้กวาดที่ไม่แห้งนำไปตากให้นานกว่าเดิม ทำให้กระบวนการก่อนการปรับปรุง มีค่าเฉลี่ยลดลงและทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานการผลิตลงลดได้เนื่องจากก่อนการปรับปรุง ตากด้ามไม้กวาด 2 วัน หลังปรับปรุงตากด้ามไม้กวาดเพิ่มเป็น 5 วัน ผลการลดต้นทุนในการผลิตไม้กวาดดอกหญ้าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสตรีทำไม้กวาดดอกแขมบ้านโคกสี ผลการเปรียบเทียบก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุงที่ได้จากการเก็บผลการเปรียบเทียบสรุปได้ว่ามีระยะเวลา
12 เดือนก่อนการปรับปรุงจำนวนการผลิต มีจำนวนทั้งสิ้น 2,880 ด้าม คิดค่าส่งเป็นจำนวนเงิน 128,016.00 บาทต่อปี ผลหลังการปรับปรุงมียอดรวมจำนวนรวมน้ำหนัก 2,736.00 กิโลกรัมต่อปี คิดค่าส่งน้ำหนัก 54,720 บาทต่อปี และมีผลต่างที่เกิดขึ้นหลังการปรับปรุงทั้งสิ้น 921.60 กิโลกรัม คิดค่าส่งจำนวนเงิน 73,296.00 บาทต่อปี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลชลี พวงเพ็ชร. (2561). การส่งเสริมการตลาดแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนไร่สานฝน ตำบล นิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสาร Veridian E Journal สาขา มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(2), 1455-1467.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2549). โลจิสติกส์เพื่อการผลิตและการจัดการ (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

จตุพร คงทอง, ฐิรารัตน์ แก้วจํานง และสุรีย์พร วุฒิมานพ. (2561). แผนกลยุทธ์เพื่อยกระดับ ผลิตภัณฑ์เครื่องแกงชุมชน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านนากุน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(ฉบับพิเศษ), 36–47.

ประภาพร ยางประยงค์. (2559). วิเคราะห์การจัดการวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา ทำสะอ้านไฮโดรโป นิกส์. วารสารบริหารธรุกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(2), 25-32.

เมทิกา พ่วงแสง และหญิง มัทนัง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการตลาดสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 55- 66.

ศรายุทธ ขวัญเมือง, อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย, นภัสวรรณ คุ้มครอง. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 27(1), 98- 110.

ศรายุทธ ขวัญเมือง (2563). การลดต้นทุนกระบวนการผลิตไม้ยางพารา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ฤทัย เตชะบูรณเทพาภรณ์. (2554). แรงจูงใจ และปัจจัยทางการตลาดบนเฟซบุ๊ค (Facebook) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล. (2555). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบร่วมกลุ่มกันซื้อบนเว็บไซต์ Enzogo ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรพงศ์ อินทรภักดิ์. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 27(1), 84- 95.

อาภาภรณ์ วัธนกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านทางเว็บไซตอิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยมของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ. (2556). S-COMMERCE: อนาคตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารปัญญาภิวัฒน์ สถาบันปัญญาภิวัฒน์ ,5(1), 147–158.

อภิชาติ เปรมปราชญ์ชยันต์. (2550). การเพิ่มประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทานโดยใช้เทคนิคการผลิตแบบลีน: กรณีศึกษาของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพาจำกัด.

อิทธิวัฒน์ รัตนพองบู่. (2555). การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. 9th Edition. New Jersey: Prentice-Jall.