การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สมนี สมไทยสกุล
ราเชนทร์ นพรัฐวงศกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 321 คน ใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยการบริหารองค์กร  ด้านโครงสร้างขององค์กร ด้านระบบ ด้านรูปแบบการบริหาร ด้านบุคลากร และด้านค่านิยมร่วม ส่งผลต่อการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปัณฑารีย์ ฟองแพร่. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพการทำงานสูง: กรณีศึกษาธนาคารยูโอบี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภัสธารีย์ เรืองชัยพัฒนะ. (2564). ปัจจัยการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2563-65: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. ค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Hi-tech-Industries/Auto-Parts/IO/Industry-Outlook-Auto-Parts

วิฬาร บุญมาเลิศ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพสูง: กรณีศึกษาบริษัท เบทาโกร เกษตรอุสาหกรรม จำกัด (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

Miller, L. M. (1998). The high-performance organization an assessment of virtues and values prepared for Organizations. The CEO reports. San Francisco: Jossey Bass Publisher.

Schemerhorn, J. R., Hunt, J. G. & Osborn, R. N. (2003). Organization behavior. USA: John Wiley & Son.

Yamane, T. (1967). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row.