รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางเพื่อการส่งออกในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฏฐ์อาภา บุตรสา
ทวี แจ่มจำรัส
กาญจนา โพธิวิชยานนท์
พรชัย ดีไพศาลสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางเพื่อการส่งออกในเขตกรุงเทพมหานคร กลยุทธ์การบริหาร สภาพแวดล้อมภายนอก กลยุทธ์การตลาด
และ สภาพแวดล้อมภายใน 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของกลยุทธ์การบริหาร สภาพแวดล้อมภายนอก กลยุทธ์การตลาด และ สภาพแวดล้อมภายในที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางเพื่อการส่งออกในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางเพื่อการส่งออกในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานและผู้ประกอบธุรกิจส่งออกเครื่องสำอางในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400  ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง อยู่ในระดับมาก กลยุทธ์การบริหาร สภาพแวดล้อมภายนอก กลยุทธ์การตลาด และ สภาพแวดล้อมภายใน อยู่ในระดับมากที่สุด
2) สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางมากที่สุด รองลงมา สภาพแวดล้อมภายใน กลยุทธ์การตลาด และกลยุทธ์การบริหาร ตามลำดับ และ 3) รูปแบบจำลองการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีกลยุทธ์การกตลาดและสภาพแวดล้อมภายในสนับสนุนอยู่ตรงกลาง และกลยุทธ์การบริหารช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2564). เครื่องสำอางไทยฮอต ขึ้นแท่นส่งออกอันดับอาเซียนอันดับ 10 ของโลก. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564, จาก https://www.dtn.go.th/th/home

จักวาล วงศ์มณี. (2561). สภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนำเที่ยวไทย และแนวทางการปรับตัวของธุรกิจนำเที่ยวในสภาวการณ์เปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 66 -78.

ปิ่นฤทัย สุธีรพงศ์. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตของการพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปรซิฟิค, 8(2), 135-150.

วิฬาร บุญมาเลิศ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพสูง: กรณีศึกษาบริษัท เบทาโกรเกษตรอุสาหกรรม จำกัด. วารสารบริหารธุรกิจ, 31(1), 10–25.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). สถานการณ์เครื่องสำอางเพื่อการส่งออก. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564, จาก https://www.sme.go.th/th/contact.php?modulekey=65

อุทัย หิรัญโต. (2560). เทคนิคการบริหาร. กรุงเทพฯ: ทิพย์อักษร.

Certo, S. C. & Peter, J. P. (2016). Strategic Management: Concepts and Application. Singapoec: Mcgrow-Hill.

Chowdhury, M. S., Alam, Z., and Arif, M. I. (2018). Factors that contribute to the development of entrepreneurs small and medium sized enterprises: Evidence from Bangladesh. Business and Economic Research, 3(2), 38.

Coulter, M. K. (2005). Strategic Management in Action. (3rd ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Gunaratne, K. A. (2018). Conceptualizing a model to promote "post start-up" small business growth in Sri Lanka. Journal of Innovation and Entrepreneurship, 10(1), 1-21.