ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

เบญจวรรณ ยศระวาส
ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 6P’s ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรการหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างประชากรของ Taro Yamane’s เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test One-Way Anova และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอย ผลการศึกษาพบว่า 1) ความถี่ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 1-2 ครั้ง/เดือน ความรู้เกี่ยวกับการซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในการซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ในระดับมาก อุปกรณ์ที่ใช้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ช่องทางออนไลน์ที่เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ อันดับแรก และเหตุผลที่ซื้อสินค้าที่ซื้อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่เลือกกระบวนการซื้อสินค้าง่าย และสะดวก 2) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (6P’s) ของธุรกิจการขายสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ปัจจัยด้านคุณภาพของการใช้บริการของเว็บไซต์ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านประสิทธิภาพ รองลงมาอยู่ในระดับมากได้แก่ ปัจจัยด้านความสามารถของระบบ และปัจจัยด้านการตอบสนองต่อการใช้บริการ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา โตทองหลวง และคณะ. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562, 220-231. วิทยาลัยนครราชสีมา.

ธิคณา ศรีบุญนาค และคณะ (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคม มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(3), 88-100.

ราช ศิริวัฒน์. (2560). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค. ค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2563, จาก https://doctemple.wordpress.com

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วีรนุช รายระยับ. (2556). พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าผ่านอินเทอร์เน็ตในกลุ่มวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.). (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. ค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563, จาก https://www.etda.or.th/ content/thailand-internet-user-behavior-2019-press-release.html

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). กลยุทธ์การตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cheung, C. M. K., Chiu, P. Y., & Lee, M. K. O. (2011). Online Social Networks : Why do Students Use Facebook. Computers in Human Behavior, 27(4), 1137-1343.

Kotler, Philip. (2013). Marketing Management (The Millennium edition). Upper Saddle Rever, NJ : Person Prentiec Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Tried edition. New York: Harper and Row Publication.