ปัจจัยการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของบุคลากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Main Article Content

ธรรมวรรธ วงศ์เจริญยศ
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
วราพร ดำรงค์กูลสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างการพัฒนาตนเองปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของบุคลากรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นการศึกษาแบบเจาะจง กลุ่มประชากรคือบุคลากรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจำนวน 348 คน
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคลากรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t- test, F-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติการต่างกันมีการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน ส่วน เพศอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่แตกต่างกัน และ 2) การพัฒนานาตนเองขึ้นอยู่กับปัจจัยการบริหารองค์กรได้แก่ ความมั่นคงในงาน เพื่อนร่วมงานและการดำเนินการภายใน สภาพการทำงาน ความก้าวหน้าในการทำงาน และผลตอบแทนที่ได้จากการทำงานและสามารถคาดการณ์ผลตอบแทนจากประสิทธิภาพและคุณภาพการบริการได้ถึง 79.20% การวิจัยครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาองค์กรในการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของบุคคลากรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรฎาริน ตั้งสกุล. (2558). ความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). ศูนย์วิจัยการตลาดการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 23 เมษายน 2564, จาก https://www.tat.or.th/th/ about-tat/history

จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล. (2553). บริหารคนเหนือตารา. กรุงเทพฯ: เนชั่น พริ้นติ้ง เซอร์วิส.

ธงชัย สันติวงษ์. (2559). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พระธรรมปิฎก. (2556). รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

มรกต ลิ้มวัฒนา. (2559). ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อปฏิกิริยาตอบสนองทางด้านจิตใจผู้ป่วยผ่าตัดกล่องเสียง. วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,18(1), 55-64.

ลัทธิกาล ศรีวรมย์และณรงศักดิ์ บุญเลิศ. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิสิทธ์พัฒนา.

วรรณวิสา แย้มเกตุ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองในการทำงานของพนักงานธนาคารสายลูกค้าบุคคลของธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยากรุงเทพ.

วินัย เพชรช่วย. (2550). การจูงใจในการทำงาน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

ศิริลักษณ์ เมษสังข์. (2556). ภาวะผู้นำและองค์การ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

อรัญญา ตุ้ยคำภีร์. (2553). การพัฒนามาตรวัดความ มุ่งหวังในชีวิตของนักศึกษาไทย. วารสารสุขภาพ จิตแห่งประเทศไทย, 9, 18-26.

Gilmer, V. B. (1971). Industrial Psychology. New York: McGraw-Hill Book.

Megginson, D. and Pedler, M. (1992). Self-development: A Facilitators Guide. Maidenhead, UK.: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis. New York. Harper and Row Publications.