บทบาทและความคิดทางการเมืองของนายมีชัย ฤชุพันธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเรียนรู้ทางสังคม 2) บทบาทชนชั้นนำทางการเมืองและ 3) การเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในบทบัญญัติต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วตีความหมาย เพื่อสรุปผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กำหนดไว้
ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนรู้ทางสังคมของนายมีชัยเกิดจากประสบการณ์ทางสังคม ส่งผลให้นายมีชัยเกิดความมุ่งมั่นในการศึกษา สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และเพื่อนร่วมงาน ส่งผลให้เกิดการหล่อหลอมความคิด 2) พฤติกรรมของนายมีชัยให้เกิดการพัฒนาตัวตน ประสบความสำเร็จในชีวิต เกิดทักษะ และความชำนาญเฉพาะตัว นายมีชัยไม่ใช่กลุ่มชนชั้นนำในสังคม ด้วยศักยภาพ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายส่งผลให้ชนชั้นนำในสังคม สนับสนุน และส่งเสริมให้นายมีชัยเข้ามาปฏิบัติงานการเมืองจนรับตำแหน่งทางการเมือง ส่งผลให้นายมีชัยกลายเป็นชนชั้นนำในสังคม นายมีชัยร่วมร่างรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ ความคิดทางการเมืองกับการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลของนายมีชัยในการบัญญัติกฎหมายในรัฐธรรมนูญมีความแตกต่างกันตามบริบททางการเมือง และสังคม 3) กระบวนการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลของนายมีชัยต้องผ่านขั้นตอนของการพิจารณาทางเลือกแต่ละทางเลือก ทั้งนี้ปัจจัยในการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นขึ้นอยู่กับปัจจัยความเชื่อ และความปรารถนา ผลประโยชน์ของตนเอง และส่วนรวม ข้อจำกัดของทางเลือกของนายมีชัย ได้แก่ การสั่งการของผู้มีอำนาจ การวางกรอบ กฎ กติกาให้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญปฏิบัติตาม ปัญหาทางสังคม การเมือง รวมถึงความต้องการ หรือความปรารถนาของนายมีชัย จึงเป็นข้อจำกัดที่นายมีชัยต้องนำมาพิจารณาเพื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด และนำมาซึ่งผลประโยชน์กับคนจำนวนมากที่สุด
Article Details
References
ไชยันต์ ไชยพร. (2557). จอน เอสเตอร์ กับทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: Way of book.
ณรงค์ฤทธิ์ ชัยสายัน. (2560). ชีวิตและแนวคิดทางการเมืองของควง อภัยวงศ์ (ดุษฎีนิพนธ์ชปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2559). การศึกษาการเมืองตามแนวทางการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ระดม วงษ์น้อม. (2527). แนวความคิดเรื่องชนชั้นนำและการศึกษาโครงสร้างอำนาจชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำรวน ศิริบุรี. (2537). แนวความคิดทางการเมืองและบทบาทของนายแคล้ว นรปติ ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุดร ยอมเจริญ. (2537). ความคิดทางการเมืองของพลตรีจำลอง ศรีเมือง (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Elkin, F. & Handel, G. (1983). The child and society : the process of socialization. (4th ed.). New York: Random House.
Elster, J. (1989). Solomonic Judgements. Cambridge: Cambridge University Press.
Elster, J. (2009) Reason and Rationality. translated by Steven Rendall. Princeton, New Jersey: Princeton University.
Mosca, G. (1939). The Ruling Class. New York: McGraw-Hill.