การตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มือสองในยุคโควิด ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มือสองในยุคโควิดในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบทียบการตัดสินใจเลือกรถยนต์มือสองในยุคโควิด ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคที่ซื้อที่รถยนต์มือสอง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 405 คน ใช้การคัดเลือกอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา, t- test, F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มือสองในยุคโควิด ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ในด้านความต้องการเบื้องต้น ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการตัดสินใจซื้อ ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ และด้านการค้นหาข้อมูล 2) ผู้บริโภคที่ซื้อรถยนต์มือสองที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มือสองในยุคโควิด ในจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วน เพศ และอายุ ไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). กำลังซื้อลดดันตลาดรถมือสองเติบโตขึ้น 5%. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/1012432
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2545). การตลาดธุรกจิบริการ. กรุงเทพฯ: เอ๊กเปอร์เน็ต.
ปาณัสม์ เทียนฉาย และ ปริญญา บรรจงมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคผ่านเต็นท์รถยนต์มือสองในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 13(1), 10 - 24.
พัฒพงษ์ เอี่ยมธนาอนันต์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์มือสองของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2565, จาก http://www.mbaoneday-abstract.ru.ac.th/ AbstractPdf/2562-1-1_1595488414.pdf
ภิญโญ เอกอุรุชัยเทพ. (2562). ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครื่องจําหน่ายสินค้าอัติโนมัติ (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตบัณฑิต). วิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
มานิต รัตนสุวรรณ และสมฤดี ศรีจรรยา. (2554). ยุทธศาสตร์การตลาด. กรุงเทพฯ: สุขุมการพิมพ์.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2565). อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ ไตรมาสที่ 1/2565. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2565, จาก https://www.mreport.co.th/news/statistic-and-ranking/310-thailand-automotive-industry-outlook-2022-Q1-Q2
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็ก.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). รถมือ 2 สดใส รับตลาดรถมือสองโต จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จำกัดความสามารถในการซื้อรถมือหนึ่งของภาคครัวเรือน. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2565, จาก https://www.kasikorn research.com /th/analysis/k-social-media/Pages/ST-FB-21-06-2022-1.aspx
Belch, G. E., & Belch, M. A. (2005). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. (6th ed.). Boston: McGraw-Hill.
Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons, Inc.
Kotler, P. (2000). Marketing Management. (The Millennium Edition.) New Jersey: Prentice Hall International.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed.). Upper Saddle River. New Jersey: Prentice Hall Intentional Inc.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer Behavior. (9th Ed.). Prentice-Hall, Upper Saddle River.