การประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดชัยนาท กรณีศึกษา: ตำบล LTC ดีเด่น ระดับเขตสุขภาพที่ 3

Main Article Content

วัฒนา จันทร์เปรม
มยุรี บุญทัด
วิสุทธิ์ โนจิตต์
ไพศาล ขุนวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพ ครั้งนี้ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด CIPP Model มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต และ ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิบัติตามนโยบายการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดชัยนาท ประชากรที่ศึกษาเลือกแบบเจาะจง จากพื้นที่ตำบลที่ได้รับรางวัลดีเด่นด้านการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ระดับเขตสุขภาพที่ 3
ของจังหวัดชัยนาท ตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2563 - 2565 จำนวน 3 ตำบลตามลำดับ ได้แก่ ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา และตำบล นางลือ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ประกอบด้วย 1) ตัวแทนคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 คน 2) ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในพื้นที่ (Care Manager) จำนวน 5 คน 3) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Care Giver) จำนวน 10 คน และ 4) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 6 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีตรวจสอบเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแนวทางสนทนากลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระยะเวลาการศึกษา ตั้งแต่ตุลาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและแก่นสาระของเนื้อควา


ผลการศึกษา พบว่า ทั้ง 3 ตำบลมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีกระบวนการปฏิบัติงานสอดคล้องตามหลักนโยบาย LTC ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2562 – 2564 ทำให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการคัดกรองภาวะพึ่งพิงครอบคลุมเฉลี่ย 86.12 โดยเป็นผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง เฉลี่ยร้อยละ 3.90 ส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มที่เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกินหรือการขับถ่าย ไม่มีภาวะสับสน ร้อยละ 61.60 และกลุ่มที่เคลื่อนไหวไม่ได้หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง  ร้อยละ 22.22 ซึ่งภายหลังการจัดบริการตามแผนการดูแล พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันระดับดีขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 28.04  และมีปัจจัยความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามนโยบาย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเป็นหุ้นส่วนของภาคีเครือข่าย 2) การใช้ทุนทางสังคม 3) การใช้ข้อมูลสุขภาพเป็นเป้าหมายการพัฒนา 4) การพัฒนากำลังคน 5) ระบบพี่เลี้ยง 6) การสะท้อนคิด ซึ่งพื้นที่อื่นสามารถนำไปปรับใช้เป็นขั้นตอนการพัฒนาระบบบริการ LTC ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2565). โปรแกรม 3C กรมอนามัย. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565, จาก http://ltc.anamai. moph.go.th/

กิตติศักดิ์ แก้วบุตรดีและอัจฉรา กิจเดช (2561).พัฒนาองค์กรด้วยระบบพี่เลี้ยง (มืออาชีพ). วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(1), 1-8.

ชญานิศ ลือวานิช, สุวรรณา หล่อโลหการ และประพรศรี นรินทรรักษ์ (2562).การประเมินผลการดำเนินงานการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในจังหวัดภูเก็ต.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 13(4), 48-63.

ณัฐวิภา ทองรุ่ง และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ (2564). การประเมินโครงการบริการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษา อาเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(2), 97-106.

ประไพ กิตติบุญถวัลย์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่า, ศุภลักษณ์ ศรีธัญญา และ Samuel Umereweneza. (2561). การสะท้อนคิด: จากประสบการณ์ที่ล้าค่าสู่การเปลี่ยนแปลง.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 102-110.

ปาณิศา บุญยรัตกลิน (2561). การดูแลระยะยาวกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน:บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(1), 47-59.

ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์และอรสา กงตาล. (2563). การพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(3), 48-65.

ปิยากร หวังมหาพร. (2555). ความร่วมมือในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ: การวิเคราะห์ข้ามกรณี (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พรสุดา ฮวบอินทร์. (2559). ผลของการพัฒนาครูตามโครงการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู:กรณีศึกษาสถานศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญญบุรี.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยศ วัชระคุปต์, วรรณภา คุณากรวงศ์, พสิษฐ์ พัจนา และ สาวิณี สุริยันรัตก. (2561). ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(4), 608-624.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2538). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ร้อยละของ Healthy Ageing ปีงบประมาณ 2566. สืบค้น 25 ธันวาคม 2565, จาก https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/reports/page.php?cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48

รัตติกร เหมือนนาดอน, ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, เจียมใจ ศรีชัยรัตนกูล และสันติ ยุทธยง. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 13-25.

ราณี วงศ์คงเดช, ดรุณี พ่วงพรพิทักษ์ และอดิศร วงศ์คงเดช. (2564). บทเรียนการดำเนินงานตามนโยบายดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(11),142-154.

ศศินันท์ สายแวว. (2564). การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตาบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิราณี ศรีหาภาค, ธารา รัตนอำนวยศิริ, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ และนวลละออง ทองโคตร (2561). การศึกษารูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอิสานภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน (รายงานวิจัย). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สัมฤทธิ์ ศีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร และบวรสม วีรพันธ์. (2561). การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (รายงานวิจัย). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. (2565). ระบบบริการ Chainat Health Data Center. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2565, จาก https://cnt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. (2565). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติจังหวัดชัยนาท รอบที่ 2/2565 วันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2565. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2565, จาก https://drive.google.com/drive/folders/1pCJmrdlbr7lsy2aIRohF2IEwtZPImKWb

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2556). คู่มือการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.