การพัฒนาประสิทธิผลในการดำเนินงานของหน่วยบริการระดับทุติยภูมิขึ้นไป ภายใต้การบริหารงานด้วยแนวคิดแบบลีน

Main Article Content

อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์
นัทนิชา โชติพิทยานนท์
พูลศักดิ์ โกสิยวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลของการดำเนินงานภายใต้การบริหารงานด้วยแนว คิดลีนในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขึ้นไป 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานภายใต้การบริหารงานด้วยแนวคิดลีนในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขึ้นไป ที่มีการใช้เครื่องมือลีนในการบริหารจัดการองค์กร 3) รูปแบบความสัมพันธ์ของการนำแนวคิดลีนใช้ในโรงพยาบาล การบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขึ้นไป เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามได้สร้างมาจากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview)  โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้างานที่รับผิดชอบในส่วนที่ต้องบริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขึ้นไปที่นำลีนมาใช้ ในประเทศไทย จำนวน 220 ท่าน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ค่าสถิติไค-สแควร์ ค่าดัชนีความสอดคล้องของโมเดล ดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพันธ์ และวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์แนวคิดลีนมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงานในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านของ (1.1) การลดระยะเวลาการรอคอย (1.2) ความพึงพอใจของผู้ป่วย (1.3) การเพิ่มผลผลิตในระบบ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานในโรงพยาบาล ได้แก่ (2.1) การประยุกต์ทฤษฎีลีน ประกอบด้วย ภาวะความเป็นผู้นำ ความมีส่วนร่วมของพนักงาน การไหลการบริการตามโซ่อุปทานการ วัฒนธรรมองค์กรและ (2.2) การบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ ประกอบด้วย การวางกลยุทธ์ การตระหนักถึงผู้รับบริการ และการให้การศึกษาและการฝึกอบรม และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขึ้นไปพบว่า (3.1) การประยุกต์ทฤษฎีลีน  มีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (3.2) การบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานในโรงพยาบาล และ (3.3) การประยุกต์ทฤษฎีลีน มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานในโรงพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. (2552). การบริหารจัดการบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทย์วิชา.

Callaway N. F., Park J. H., Maya-Silva J, Leng T. (2016). Thinking lean: improving vitreoretinal clinic efficiency by decentralizing optical coherence tomography. Retina, 36(2), 335-341.

Feigambaum, A.V. (1987). Total Quality Control. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Gjolaj, L.N., Campos, G.G., Olier, P.A. & Fernandez, G.L. (2015). Delivering patient value by using process improvement tools to decrease patient wait time in an outpatient oncology infusion unit. JCO Oncol Pract,12(1), 95-100.

Graban, M. (2008). Lean Hospitals: Improving Quality, Patient Safety and Employee Satisfaction. New York: Productivity Press.

Froman, M. N. et al. (2021). Applying Lean principles to create high throughput mass COVID-19 vaccination site. BMJ Open Quality, 11(1), 1-6

Oscar Morell-Santandreu, Cristina Santandreu-Mascarell and Julio J. Garcia-Sabater. (2021). A Model for the Implementation of Lean Improvements in Healthcare Environments as Applied in Primary Care Center. Int J Environ Res Public Health,18(6), 2876.

Raphael Nascimento dos Santos, Marcos dos Santos, Ingrid Lorrana Cesar de Oliveira and Leandro Alves NAsimeto. (2021). Lean six sigma approach for COVID-19 demand growth. A Case study in a Rio de Janeiro hospital respiratory company. Journal of Lean System, 6(3), 99-109.

Robbins, S. P. (1983). Organizational behavior. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Sullivan, P. et al. (2014). Using lean methodology to improve productivity in a hospital oncology pharmacy. Am J Health Syst Pharm, 71(17), 1491-1498.

Womack, J. P. & Jones D. T. (2003). Lean thinking: banish waste and create wealth in your corporation. New York: Simom & Schuster.