การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนการสอนโฟนิกส์ (Phonics) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ซิลมีย์ มนูญดาหวี
อริสรา บุญรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนการสอนโฟนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังจากการจัดการเรียนการสอนโฟนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนโฟนิกส์ กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนมุสลิมวิทยามูลนิธิ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบแผนการวิจัยแบบทดสอบก่อนและหลังกับกลุ่มเดียว แบบประเมินความสามารถการออกเสียงภาษาอังกฤษ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพทางความสามารถในการอ่านออกเสียงคำภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนการสอนโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 คือ มีประสิทธิภาพของ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 85.76/80.00 2) เปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก ทั้งในด้านเนื้อหา ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ ทองปาน. (2526). การสร้างหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: กรมฝึกหัดครู.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรินทร์ ป้องสนาม. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยวิธีโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

มาริสา พันเปรม. (2561). การประเมินสื่อการสอนโฟนิกส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองแขม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เรมิกา กุลาตี. (2558). การใช้การสอนแบบโฟนิกส์เพื่อพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษและความรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โรงเรียนมุสลิมวิทยามูลนิธิ. (2564). รายงานผลการศึกษาประจำปี 2563. พัทลุง: โรงเรียนมุสลิมวิทยามูลนิธิ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์.

วัชรินทร์ เครือเช้า. (2561). การสอนโฟนิกส์แบบสร้างคำร่วมกับเทคนิค TPR: สอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เริ่มเรียน. ประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 1465-1478.

สาวิตรี อานมณี. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำโดยใช้เสียงโฟนิกส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9, 153-162.

สาเกต ทองเที่ยง. (2557). การใช้วิธีสอนโฟนิกส์ร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ เพื่อส่งเสริมการออกเสียงและความ สามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สินธุมาส อินนันชัย. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยแม่เลี่ยม ผ่านจอยลี่โฟนิกส์แอพพลิเคชั่น (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุนันทา ปัญญารัตน์. (2554). การพัฒนาการสอนอ่านออกเสียงและเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลำสนุ่น อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สรียาภรณ์ นนทะปะ. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษ (Phonics) โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้ำแคม อำเภอมท่าลี่ จังหวัดเลย (รายงานวิจัย).โรงเรียนบ้านน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1.

Phonics, J. (2021). Jolly Phonics. Retrieved December 14, 2022, from https://www.jollylear ning.co.uk/jolly-phonics/

Spafford, C. A., & Grosser, G. S. (2005). Dyslexia and Reading Difficulties: Research and Resource Guide for Working with All Struggling Readers. (2nd ed.). Boston: Pearson Education.