การพัฒนาทุนทางสังคม: สมุนไพรเเช่เท้าสำเร็จรูป เพื่อลดระดับอาการชาในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบ้านหนองโอน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วัธชัย บุญเสนอ

บทคัดย่อ

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและความต้องการผลิตภัณฑ์สมุนไพรแช่เท้าลดอาการชาเท้าในผู้ป่ายเบาหวาน 2.เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแช่เท้าสำเร็จรูปลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน 3.เพื่อเปรียบเทียบระดับอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน 4.เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) กลุ่มการศึกษาครั้งนี้คือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอาการชาเท้าที่มารับบริการที่โรงเรียนการแพทย์แผนไทยอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน ซึ่งมีเกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x̅ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ Paired Samples T-test


    เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์แสดงให้เห็นว่าระดับอาการชาเท้าหลังการแช่เท้า (วันที่60 ) ระดับอาการชาเท้าทั้งซ้ายและขวาลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการแช่เท้า (วันที่30 ) ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าระดับอาการชาเท้าทั้ง 2 ข้างก่อนและหลังการแช่เท้าพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด (x̅ = 4.82) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าระดับความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ลำดับที่ 1 คือผลิตภัณฑ์สมุนไพรแช่เท้าสำเร็จรูปมีความสะดวกต่อการใช้งานได้มีระดับความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์มากที่สุด (x̅ =4.90)


    การวิจัยในครั้งนี้จะได้นำเอาการนำเอาต้นทุนทางธรรมชาติมีอยู่ในชุมชนได้แก่ ขมิ้น ตะไคร้ ผิวมะกรูด ข่า ว่านนางคำ เถาเอ็นอ่อน ไพล เกลือ สารส้ม พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรแช่เท้าสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพลดอาการชาในผู้ป่ายเบาหวาน และเป็นแนวทางในพัฒนาต้นทุนทางสังคมสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรแช่เท้าสำเร็จรูปในการช่วยลดอาการชาในผู้ป่ายเบาหวานเพื่อคุณประโยชน์ของคนในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ. (2565).สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงพิณ .สืบค้นจาก http://chiangpinud.go.th/page.php?id=6039

สุริยา ณ นครและคณะ. (2565). การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565,จาก http://baanjomyut.com/library_2/water_for_health/07.html.

บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล. (2565). การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565,

จาก http://baanjomyut.com/library_2/water_for_health/05.html.

พระปลัดประพจน์ สุปภาโต .(2563). ได้ศึกษาเรื่องทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม.Journal of MCU Peace Studies Vol.8 No.3 (May - June 2020)

ใจเพชร กล้าจน. (2563). องค์รวมเทคนิคสุขภาพพึ่งตนเองแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ(บุญนิยม). เล่มที่ 3. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์

ใจเพชร กล้าจน. (2563). เทคนิคการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ.(วิทยานิพนธ์). สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565, จาก http://www.morkeaw.net/k-technic.html.

แพรภัทร ยอดแก้ว. (2565). การพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาโปรแกรมสังคมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ด้วยโครงการเพิ่มพลังการศึกษาด้วยหนังสือธรรมะ. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565,จาก https://www.gotoknow.org/posts/538479.

สุทธิภัทร ทรรศนีย์ทะนงจิต. (2565). ผลของการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้าโรงพยาบาลสามเงา จังหวัดตาก. (ปริญญนิพนธ์การแพทย์แผนไทยบัณฑิต). นนทบุรี : วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันสมทบคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

ภัทราภรณ์ คุณแขวน. (2565). การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยสมุนไพร. (รายงานการวิจัย).ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแซรไปร ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล. (2565). การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565,จาก http://baanjomyut.com/library_2/water_for_health/05.html.