บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการให้สินเชื่อของ Non-Bank ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศลิษา ชินสุข
ทวี แจ่มจำรัส
ชยภรณ์ ธนาบริบูรณ์
สุดา สุวรรณาภิรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิผลการให้สินเชื่อ, นโยบายขององค์การ, มาตรการทางกฎหมาย, คุณภาพของสินเชื่อ, และพฤติกรรมผู้บริโภคของ non-bank ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ปัจจัย
เชิงสาเหตุของนโยบายขององค์การ มาตรการทางกฎหมาย คุณภาพของสินเชื่อ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการให้สินเชื่อของ non-bank ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) นำเสนอแนวทางการให้สินเชื่อของ non-bank ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อของ non-bank ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนและนโยบายด้านการปล่อยกู้ของธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนและนโยบายด้านการกำหนดดอกเบี้ย ผู้บริหารด้านสินเชื่อของผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน จำนวนทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


 ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการให้สินเชื่อของ non-bank ในเขตกรุงเทพมหานคร นโยบายขององค์การ มาตรการทางกฎหมาย คุณภาพของสินเชื่อ และพฤติกรรมผู้บริโภค อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) มาตรการทางกฎหมายมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อประสิทธิผลการให้สินเชื่อของ non-bank ในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุด รองลงมา ตามลำดับ ได้แก่ คุณภาพของสินเชื่อ นโยบายขององค์การ และพฤติกรรมของผู้บริโภค และ 3) แนวทางประสิทธิผลการให้สินเชื่อของ non-bank ในเขตกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย มาตราการทางกฎหมายที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีคุณภาพของสินเชื่อและนโยบายขององค์การอยู่ตรงกลาง และพฤติกรรมผู้บริโภคช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตยา เพิ่มผล. (2558). การบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกการ กุลรวีสร. (2558).หลักการวิเคราะห์สินเชื่อ 5C’s ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ ในการสมัครขอสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ กับบริษัท เอแคปปิตอล จำกัด กรณีศึกษา ลูกค้ากลุ่มตลาด อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

เคียงเดือน พิจิตรชุมพล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินที่มีต่อวิสาหกิจกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). วารสารธนบุรี, 12(8), 18 – 35.

ชมรมผู้บริหารธนาคารออมสินภาค 11. (2555).การวิเคราะห์เครดิตสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 จาก http://www.mgsb.net/index.php/77-2012-03-30-15-55-32/96--modern|-credit-analysis

ชุตาภา ผิวเผือก. (2561). ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 12(3), 19 – 35.

ฐานเศรษฐกิจ. (2562). ธุรกิจบัตรเคดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของ non-bank. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2566, จาก https://www.thansettakij.com/money_market/495680

ตุลา มหาพสุธานนท์. (2555). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: พีเอ็น เคแอนด์สกายพริ้นติ้ง.

ธงชัย สันติวงษ์. (2560). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). บทบาทของ non-bank ต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566, จาก https://www.bot.or.th/th/home.html

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, (2561) นโยบายบริหารความเสี่ยง สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566, จาก https://www.baac.or.th/th/cg/4.pdf

ละมัยพร โลหิตโยธิน. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคุณภาพโดยองค์รวมกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. วารสารพยาบาล, 12 (5), 101 – 125.

วิมล จินดาเงิน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการให้สินเชื่อของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค. (2564). ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank). สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566, จาก https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/finservices/Pages/nonbank.aspx

เสาวลักษณ์ แผวผาลา. (2558). ประสิทธิภาพการให้บริการในงานสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ, 12(3), 12-26.

เสนาะ ติเยาว์. (2556). หลักการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถิต บัวขวัญ. (2558). ประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการสืบสวยและสอบสวนคดีบางประเภทของปลัดอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

Crosby. (1979). The Art of Making Quality Certain. New York: New American Library.

Ekpu, V.U. (2016). Supply-side factors affecting bank lending to SMEs. In Determinants of Bank Involvement with SMEs, (pp. 45-72). Springer, Cham.

Gilmore Harold. (1972). Analysis of Managerial Functions. New York: McGraw – Hill Book.

Juran. (1991). The Quality Control Hanbook. New York: The Free press, Inc.

Liang, H.Y. and Reichert, A.K. (2012). The impact of banks and non-bank financial institutions on economic growth. The Service Industries Journal, 32(5), 699-717.

Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York: Garper & Row.

Martin, W.B. (1995). Quality customer service for front line staff. Menlo Park, CA: Crisp.

Rogers, C.R. (1951). Client-centered therapy: Its current practice, implecations, and theory. Boston: Houghton Mifflin.

Robert A. Broth. (2006). The Management of Business and Public Organization. New York: McGraw-Hill.