ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างคุณภาพการสอบบัญชีและอัตราส่วนหนี้สิน ที่มีต่อผลการดำเนินงานและการตกแต่งกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 50

Main Article Content

กุลธิดา ศรีเผือก
จิรพงษ์ จันทร์งาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการสอบบัญชีและอัตราส่วนหนี้สินที่มีต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET50 และ 2)ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการสอบบัญชีและอัตราส่วนหนี้สินที่มีต่อการตกแต่งกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET50 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และฐานข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มดัชนี SET 50 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างปี 2562-2564 รวมข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 150 ข้อมูล นำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งสถิติเชิงอนุมานแบ่งเป็น การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการสอบบัญชีและอัตราส่วนหนี้สินที่มีต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET50 พบว่า คุณภาพการสอบบัญชี ด้าน ขนาดของบริษัทสอบบัญชี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานด้าน อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนคุณภาพการสอบบัญชีด้านระยะเวลาการเป็นผู้สอบบัญชีในบริษัทลูกค้า ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ และ อัตราส่วนหนี้สินด้านอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีความสัมพันธ์ทางลบกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และ 2) ผลความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการสอบบัญชีและอัตราส่วนหนี้สินที่มีต่อการตกแต่งกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET50 พบว่า คุณภาพการสอบบัญชี ด้าน ขนาดของบริษัทสอบบัญชี มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตกแต่งกำไรที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ในขณะที่ที่คุณภาพการสอบบัญชีด้านระยะเวลาการเป็นผู้สอบบัญชีในบริษัทลูกค้าและอัตราส่วนหนี้สินไม่มีความสัมพันธ์กับการตกแต่งกำไรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุตินันท์ ดำเนินศิลป์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่าการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนการก่อหนี้กับการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนีหลักทรัพย์ SET 100 (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณรงค์ศักดิ์ อินต๊ะไชยวงศ์. (2555). ผลกระทบของการกำกับดูแลกิจการต่อผลการดำเนินงานของบริษัท กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิยะณัฐ ถุนพุทธดม. (2561). ผลกระทบของกลไกการกำกับดูแลกิจการ คุณภาพการสอบบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานผ่านการบริหารกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พัชรพล ศรีเพชร. (2563). ความสัมพันธ์ของการบริการเงินและคุณภาพการสอบบัญชีที่มีต่อผลการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET100 (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พิมพ์ชนก เกตุสุวรรณ์. (2555). การตกแต่งกําไรผ่านการใช้ดุลยพินิจในการสร้างรายการธุรกิจเพื่อ บรรลุเป้าหมายกําไร. วารสารวิชาชีพบัญชี, 8(22), 82-92.

ภูษณิศา ส่งเจริญ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรัชตภาคย์, 15(38), 30-41.

สุพิชญา ไทยจินดา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพงานสอบบัญชีและคุณภาพของรายงานทางการเงิน(การบริหารกำไร) กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนที่ถูกจัดอันดับ 100 อันดับแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100) (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Al-Matari, E.M., Al-Swidi, A.K. and Bt Fadzil, F. H. (2014). The Measurements of Firm Performance’s Dimensions. Asian Journal of Finance & Accounting, 6(1), 24-49.

Chung-Hua Shen and Hsiang-Lin Chih. (2005). Investor protection, prospect theory, and earnings Management: An international comparison of the banking industry. Journal of Banking and Finance, 29, 2675–2697.

Fooladi, M., Shukor, Z.A. (2012). Board of Directors, Audit Quality and Firm Performance: Evidence from Malaysia. National Research & Innovation Conference for Graduate Students in Social Sciences. Istanbul. Turkey.

Healy, P. M., & Wahlen, J. M. (1999). A review of the earnings management literature and its implications for standard setting. Accounting horizons, 13(4), 365-383.

Inaam, Z., Khmoussi, H., & Fatma, Z. (2012). Audit Quality and Earnings Management in the Tunisian Context. International Journal of Accounting and Financial Reporting, 2(2), 17-33.

Jensen M. and Meckling W. (1976). Theory of the Firm: Managerial Behaviow, Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Financial Economics, 3, 305-360.

Krishnan, J., Li , C., & Wang, Q. (2013). Auditor Industry Expertise and Cost of Equity. Accounting Horizons, 27(4), 667-691.

Palmrose, Z.-V. (1988). An Analysis of Auditor Litigation and Audit Service Quality. The Accounting Review, 63(1), 55-73.

Watts, R., & Zimmerman, J. (1990). Positive accounting theory: a ten year perspective. The Accounting Review, 65 (1), 131-156.