คุณลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดีและการยอมรับการใช้เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศ ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล

Main Article Content

ศุภนิดา โคตรชาดา
ดารณี เอื้อชนะจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดี ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล 2) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของระบบสารสนเทศ ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล จำนวน 393 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย จากการคํานวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดี ประกอบด้วย ด้านความรวดเร็วทันเวลา
ด้านความปลอดภัย และด้านความถูกต้อง ส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านความตั้งใจในการใช้งาน และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน 2) การยอมรับเทคโนโลยีของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ประโยชน์ของระบบ และด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านความตั้งใจในการใช้งาน และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2563). แนวทางปฏิบัติในการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น.

กาญจน์ สิทธิปรีชาพงษ์. (2564). ความต้องการการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชญานนท์ คงทน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้งานซอฟแวร์บริหารจัดการร้านค้าและบัญชีของธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม: กรณีศึกษา ธุรกิจค้าปลีกที่เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2555). ระบบสารสนเทศทางด้านการเงินและการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

วัชนีพร เศรษฐสักโก. (2562). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.

วันวิสาข์ พวงมะลิ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคใต้) จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิสุทธิ์ วิมลธรรม และชาตยา นิลพลับ. (2564). ความสำเร็จของระบบสารสนเทศที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีโมบายแบงก์กิ้ง กรณีศึกษาลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการจัดการและการพัฒนา, 8(2), 93-109.

ศศิพร เหมือนศรีชัย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ ERP Software ของผู้ใช้งานด้านบัญชี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. (2547). เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อัครเดช ปิ่นสุข. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้า ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านระบบแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อุมาพร ปินตา. (2563). ปัจจัยด้านองค์กร ด้านเทคโนโลยี คุณภาพสารสนเทศ คุณภาพระบบ และคุณภาพบริการส่งผลต่อความสำเร็จการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1975). Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Davis, F.D., Bagozzi, R.P., and Warshaw, P.R. (1989). User acceptance of computer technology: Acomparisonof two theoretical models. Journal of Management Science, 35(8), 982-1003.

DeLone, W.H., & McLean, E.R. (1992). Information system success: The quest for the dependent variable. information System Research, 3(1), 60-95.

DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information system success: A ten-year update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.