ผลกระทบของทักษะความรู้ความสามารถและสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่มีต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ

Main Article Content

วนิดา วงศ์ถาวร
ดารณี เอื้อชนะจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของทักษะความรู้ความสามารถและสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่มีต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ เกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ จำนวน
336 ราย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 183 ราย ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยเครื่องมือ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ร้อยละสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทำวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมและรายด้านของทักษะความความรู้ความสามารถ คือด้านความเชี่ยวชาญของวิชาชีพ ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะในการสื่อสาร อยู่ในระดับมาก และสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน คือ ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร ด้านความเป็นอิสระของผู้ตรวจสอบภายใน ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนา อยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน ภาพรวมและรายด้าน คือ ด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณของงาน ด้านเวลา ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อยู่ในระดับมาก และพบว่าภาพรวมของทักษะความความรู้ความสามารถและภาพรวมของสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานที่มีต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบภายในกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ในทุกด้านหรือตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับตัวแปรตาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมบัญชีกลาง. (2546). แนวปฏิบัติการตรวจสอบภายใน. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2564, จาก https://www.cgd.go.th/

กรมบัญชีกลาง. (2561). แนวปฏิบัติการพัฒนาความรู้ของผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2564, จาก https://www.cgd.go.th/

กิตติยา จิตต์อาจหาญ, (2560). ปัจจัยการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จิตรลดา สีหามาตย์. (2563). ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของหน่วยงานภาครัฐ ในมุมมองของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ปกรณ์ จันสุริยวงศ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในองค์การของบุคลากรกับการบริหารงานอาคารสถานที่ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร.วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2), 54–67.

พรธิดา สีคำ. (2560). อิทธิพลของกระบวนการตรวจสอบภายในและการบริหารความเสี่ยงที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รุ้งระวี แช่มชื่น. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ฤทัย อะโน. (2563). อิทธิพลของทักษะผู้ตรวจสอบแห่งอนาคตที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สรัญญา ทั้งสุข. (2561). การประเมินผลการควบคุมภายในและแนวทางการพัฒนาระบบการควบคุมภายในของเทศบาลในเขตจังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2560).แนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2564, จาก http://www.oag.go.th/

สุธิดา เสาวคนธ์. (2563). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีต่อประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงานของกำลังพลในสำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อนุพงศ์ คล้ายขำ. (2560). อิทธิพลของการควบคุมภายในที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานราชการ กรมการเงินทหารอากาศ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อรญา เหง่าศิลา. (2562). การควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ (การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัจฉริยา อิ่มรส. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชี: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (2nded.). Tokyo: John Weatherhill.