ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศจีน

Main Article Content

อจิรภาส มีเพิ่มพูนศรี
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
สโรชินี ศิริวัฒนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า ส่วนประสมทางการตลาด และการเลือกซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศจีนของผู้บริโภค และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศจีนของผู้บริโภค รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศจีน จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพลักษณ์ ตราสินค้านำเข้าจากประเทศจีน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
โดยด้านประเทศผู้ผลิตมีค่าเฉลี่ย สูงที่สุด และด้านสินค้า ตามลำดับ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านช่องทางการ จัดจำหน่ายมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ และการเลือกซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศจีนของผู้บริโภค ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยการนึกถึงหรือตั้งใจเลือกซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศจีนในอดีต มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ความตั้งใจหรือนึกถึงสินค้านำเข้าจากประเทศจีนเป็นอันดับแรก หากพบสินค้าอื่นที่มีราคาใกล้เคียงกันจะเลือกซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศจีน และการตัดสินใจซื้อสินค้าสินค้านำเข้าจากประเทศจีนซ้ำในอนาคต ตามลำดับ
2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศจีนของผู้บริโภค คือ ปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า
และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณภัทคอร ปุณยาภาภัสสร. (2561). AIDA Model. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564, จาก http://punyapapassorn. blogspot.com/2010/08/aida-model.html

นันทสารี สุขโต. (2559). หลักการตลาด (Marketing an introduction). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ปิยวัช วสุสิริกุล & Stasiewski, R. H. (2559). การเติบโตของตลาดออนไลน์จีน. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ, 10(2), 193-322.

พัชฑฬิกาณฑ์ พุดจาด. (2562). พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

วิทวัส ชัยปาณี. (2558). สร้างแบรนด์. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้ง พอยท์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2558). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.

สมนึก หอมนาม. (2556). ภาพลักษณ์ตราสินค้าของรถจักรยานยนต์ฮอนด้าและยามาฮ่าในมุมมองของผู้บริโภคในภาคตะวันออกของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

อรดา รัชตานนท์ และคณะ. (2559). ผลกระทบจากธุรกิจ e-commerce ต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น (รายงานการวิจัย). ธนาคารแห่งประเทศไทย.

อริสรา อัครพิสิฐ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศประเภทตกแต่งสีสันของผู้หญิงวัยทำงานในเขตภาษีเจริญ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยสยาม.

อานุมาต มะหมัด และพีรภาว์ ทวีสุข. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปประเภทไส้กรอก ในร้านสะดวกซื้อ A ในกรุงเทพมหานคร. สุทธิปริทัศน์. 32(103), 131-147.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.

Khan, I., Ghauri, T. A., & Majeed, S. (2012). Impact of brand related attributes on Purchase intention of customer: A study about the coustomers of PUNJAB, PAKISTAN. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 4(3), 194-200.

Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and Control.(9th ed.). New Jersey: Asimmon &Schuster.

Kotler, P. (2003). Principles of Marketing. (2nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler, P. (2013). Marketing Management. (The Millennium edition). Upper Saddle Rever, NJ: Person Prentice Hall.

Lewis, E. St. Elmo. (1898). AIDA Sale funnel. Retrieved from http://www.provenmodels.com/547/ aida-sales-funnel/st.-elmo-lewis,-elias

McCarthy, E. J. & Perreault, W. D. (1993). Basic Marketing: A Global-Managerial Approach. (11st ed.). Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.

Sakara, A., & Alhassan, F. (2014). An Assessment of How Branding Influences the Purchase Behavior of Female Cosmetic Consumers: A Case of Career Women in the Wa Municioality, Ghana. International Journal of Economics, Commerce and Management, 2(10), 1-14.