ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมไทยทางออนไลน์

Main Article Content

ปรียาฉัตร เกษกัน
เอื้อมพร ศิริรัตน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ระดับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมไทยทางออนไลน์
2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมไทยทางออนไลน์ และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมไทยทางออนไลน์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมไทยผ่านช่องทางออนไลน์เพจของร้าน จำนวน 400 คนใช้สูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสถิติ t-test, One way ANOVA


ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมไทยทางออนไลน์อยู่ในระดับมาก 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ และรายได้ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมไทยทางออนไลน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมไทยทางออนไลน์ ไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมการจัดจำหน่าย และช่องทางการจัดจำหน่าย สามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหมไทยทางออนไลน์ ของกลุ่มตัวอย่าง ได้ร้อยละ 64.50 ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยให้สูงขึ้น จะทำให้สามารถเข้าสู่ตลาดในระดับนานาชาติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชงโค ดรลาดพันธุ์ และวิษณุ สุมิตสวรรค์. (2563). การตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคผ่านสื่อเครือข่ายออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 118-131.

ชมพูนุท นรินทรางกูล ณ อยุธยา และศศินิภา ศรีกัลยานิวาท. (2563). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผล ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไรซ์เบอร์รี่บราวนี่อบกรอบผสม อัลมอนด์ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(1), 38-47.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธงชัย สันติวงษ์. (2538). องค์การ ทฤษฎีและการออกแบบ. กรุงเทพฯ: แมเนจเม้น เซ็นเตอร์บางกอก.

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภคและความตั้งใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ. Humanities, Social Sciences and arts, 12(6), 2383-2403.

ปรีย์วรา ฝั้นพรหมมินทร์ และไกรชิต สุตะเมือง. (2557). อิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยทางธุรกิจ และการบริหาร, 2(1), 26-45.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัล ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

พรรณนภัชต์ ไชยวรฉัตร. (2556). พฤติกรรมของผู้หญิงอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อเสื้อผ้าในตลาดปลีกออนไลน์ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีณา พงศ์พัฒนานนท์. (2557). กรมหม่อนไหมอนุรักษ์ผ้าไทยเชิญชวนซื้อผ้าไหมให้แม่. ค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2565, จาก http:// www.tnews.co.th/html/content/155728

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ไดมอน อิน บิสสิเน็ต เวิร์ล.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2554). การตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

หทัยรัตน์ บุณยรัตพันธุ์ เงินทอง. (2558). ปัญหาของกลุ่มผลิตผ้าไหมมัดหมี่ในตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(1), 100-107.

อรณิชชา ทศตา, สุกัญญา ใจอดทน และจันทร์จิรา ใจอดทน. (2560). การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทอผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(1), 118-128.

Blackwell, R. D., Miniard, P. W., & Engel, J. F. (2006). Consumer Behavior. (10th ed.). Mason Ohio: Thomson South-Western Publishing.

Yamane, T. (1973). Statistics, An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York: Harper and Row.