รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

Main Article Content

กัญญารัตน์ จงวิไลเกษม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทรัพยากรการท่องเที่ยว ส่วนประสมทางการตลาด นโยบายการท่องเที่ยว และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว 2) อิทธิพลของทรัพยากรการท่องเที่ยว ส่วนประสมทางการตลาด นโยบายการท่องเที่ยว และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และ 3) รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวน 440 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยตรง จำนวน 15 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นข้อความบรรยายวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทรัพยากรการท่องเที่ยว ส่วนประสมทางการตลาด นโยบายการท่องเที่ยว และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก 2) ทรัพยากรการท่องเที่ยว มีอิทธิพลโดยรวมต่อการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ส่วนประสมทางการตลาด นโยบายการท่องเที่ยว และศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และ 3) รูปแบบการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สำหรับงานวิจัยครั้งนี้ คือ “POON MODEL” จำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การกำหนดนโยบายการท่องเที่ยว “P” (2) การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว “O” (3) การปฏิบัติการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน “O” และ (4) การสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวออนไลน์ “N”.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2564). รายงานการวิจัยอุทยานแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (เปิดบางแหล่ง) (Khao Yai). ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1001

ณัฏฐ์นันท์ คำทอง, เพชรรัตน์ โล้วิชากรติกุล. (2561). แนวทางในการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. วารสารสิ่งแวดล้อม, 22(1), 16-24.

นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว และ อุษารดี ภู่มาลี. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อร่องรอยทางนิเวศของนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 585-599.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2562). นโยบายการจัดการอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักอุทยานแห่งชาติกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2565). นักท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565, จาก https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=20014

อรไท ครุฑเวโช และคณะ. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวตามแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดบริการ ในมุมมองของนักท่องเที่ยวเจนวายที่เดินทางท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ในสภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารรัชภาคย์, 15(41), 252-258.

Akbar, I., et al. (2020). Local residents’ Participation in Tourism at a World Heritage Site and Limitations: A Case of Aksu-Jabagly Natural World Heritage Site, Kazakhstan. GeoJournal of Tourism and Geosites, 28(1), 35-51.

Cooper, C. & Boniface, B. G. (1998). Geography of travel and tourism. UK: Butterworth Heinemann.

Eco Tourism in Thailand. (2021). The Best Ecotourism Experiences in Thailand. Retrieved March 25, 2022, from https://theculturetrip.com/asia/thailand/articles/the-10-best-ecotourism-experiences-in-thailand/

Fernández-Bedoya, V. H., Meneses-La-Riva, M. E. & Suyo-Vega, J. A. (2021). Ecotourism in Times of Covid-19: A Systematic Review from the Five Continents on How This Activity is Being Carried Out and What Proposals They Have for the Near Future. Academic Journal of Interdisciplinary Studies, 10(6), 1-10.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L. & Black, W. C. (2010). Multivariate Data Analysis with Readings. Upper Saddle River, NJ.: Prentice-Hall.

Henderson, J. C. (2017). Destination development: Trends in Japan's inbound tourism. International Journal of Tourism Research, 19(1), 89-98.

Ismail, F., et al. (2020). A Determination of Ecotourism Intentions Towards the Sustainable Environment for the Future of Tourism. Palarch’s Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology, 17(6), 12507-12521.

Ismail, F., Imran, A., Khan, N. & Qureshi, M. I. (2021). Past, present and future of ecotourism, a systematic literature review from last decade. Studies of Applied Economics, 39(4), 1-13.

Karim, R., et al. (2021). The Impact of 4Ps Marketing Mix in Tourism Development in the Mountain Areas: A Case Study. International Journal of Economics and Business Administration, 9(4), 231-245.

Kerimbergenovich, A. A., et al. (2020). Ecotourism development in the Republic of Karakalpakstan: historical places and protected areas. Journal of Critical Reviews, 7(12), 1258-1262.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed). Pearson Education.

Pelasol, Rhona J. (2012). Igcabugao: A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo. Philippines International JPAIR Multidisciplinary Research is being Certified for QMS ISO 9001-2008 by the Anglo Japanese American Registrars of the UK.

Rasoolimanesh, S. M., Dahalan, N. & Jaafar, M. (2016). Tourists' perceived value and satisfaction in a community-based homestay in the Lenggong Valley World Heritage Site. Journal of Hospitality and Tourism Management, 26, 72-81.

Saidmamatov, O. et al. (2020). Employing ecotourism opportunities for sustainability in the Aral Sea Region: Prospects and challenges. Sustainability, 12(21), 9249.

Seba, J. A. (2012). Eco tourism and Sustainable Tourism: New Perspectives and Studies. Canada: Apple Academic Press.

Sgeerazi, K. (2008). 5 A’s of Tourism Development. Retrieved March 26, 2022, from http://www.academia.edu/9370582/5_As_of_Tourism_Development

Smith, S. L. J. (1994). The tourism Product. Annals of Tourism Research, 21(3), 582-595.

The International Ecotourism Society. (2015). What is Ecotourism?. Retrieved March 26, 2022, from https://www.ecotourism.org/what-is-ecotourism/

Tourism Western Australia. (2008). Five A’s of Tourism. Retrieved March 25, 2022, from www.tourism.wa.gov.au/jumpstartguide/totb_5Asoftourism.html

Wheelen, L. T. & Hunger, J D. (2012). Strategic management and business policy: toward global sustainability. Upper Saddle, N.J.: Pearson Prentice Hall.