รูปแบบกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภาพแรงงานสูงอายุนอกระบบในเขตเทศบาล ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

Main Article Content

อัครมณี สมใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานผู้สูงอายุนอกระบบ ภายในเขตเทศบาลตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานผู้สูงอายุนอกระบบ ภายในเขตเทศบาลตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกสมาคม ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลสามโคก อำเภอสามโคกจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.860 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ สถิติเอฟ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตของแรงงานผู้สูงอายุ ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านสภาพร่างกายที่ดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และด้านสภาพอารมณ์ที่ดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานผู้สูงอายุ ประกอบด้วย (1) คุณภาพชีวิตของแรงงานผู้สูงอายุด้านสภาพอารมณ์ที่ดี
(2) คุณภาพชีวิตของแรงงานผู้สูงอายุด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (3) คุณภาพชีวิตของแรงงานผู้สูงอายุด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี (4) คุณภาพชีวิตของแรงงานผู้สูงอายุด้านสภาพร่างกายที่ดี (5) คุณภาพชีวิตของแรงงานผู้สูงอายุด้านการรวมกลุ่มทางสังคม และ (6) คุณภาพชีวิตของแรงงานผู้สูงอายุด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการแรงงานผู้สูงอายุ. (2560). แนวโน้ม สาเหตุ และผลที่ตามมาของการมีอายุสูงขึ้นของประชากร.ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.dopa.go.th/th

กรมกิจการแรงงานผู้สูงอายุ. (2562). ยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมคนก่อนวัยสูงอายุและยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครอง. ค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.dop.go.th/th

ชนะโชค คำวัน. (2553). แนวทางการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลปลาปาก จังหวัดนครพนม (รายงานการศึกษาอิสระ). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัทมา ผ่องศิริ และคณะ. (2561). คุณภาพชีวิตภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการ ช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเขตเมือง อุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 137-150.

ยุทธพงษ์ กัลยวรรณ์. (2554). พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วาสนา หลวงพิทักษ์ และคณะ. (2562). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตจังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลมหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 67-81.

ศิรินุช ฉายแสง. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตแรงงานผู้สูงอายุในจังหวัดอำนาจเจริญ(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14 ประจำปี 2562 เรื่อง วิจัยและนวัตกรรมเพื่อประเทสไทย 4.0 ( Research and Innovation for Thailand 4.0), 498-505. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.