สภามหาวิทยาลัยกับประสิทธิผลในการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

Main Article Content

เลแกน สุธรรม
สุวรรณี แสงมหาชัย
จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ
อุทัย เลาหวิเชียร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบกรณีศึกษาพหุกรณี รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 43 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้แทนคณาจารย์ ประธานสภาคณาจารย์ อาจารย์และเจ้าหน้าที่สำนักงานสภามหาวิทยาลัย ของหน่วยงานที่เลือกศึกษาวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา (2) กำหนดคุณสมบัติผู้เข้ารับการสรรหา (3) กำหนดวิธีการได้มาซึ่งรายชื่อผู้เข้ารับการสรรหา (4)  คณะกรรมการสรรหาพิจารณากลั่นกรองรายชื่อและเสนอรายชื่อต่อสภามหาวิทยาลัย
และ (5) สภามหาวิทยาลัยพิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสม และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย (1) องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา ทั้งองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ควรมีสัดส่วนของตัวแทนในหลาย ๆ กลุ่มเพื่อป้องกัน พิทักษ์ และรักษาผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยร่วมกัน อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาที่มีความแตกต่างกันย่อมนำมาซึ่งประสิทธิผลในการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน (2) การมีส่วนร่วมของประชาคมมหาวิทยาลัยในกระบวนการสรรหา (3) หน่วยงานสนับสนุนการสรรหาผู้บริหาร
(4) วัฒนธรรมการทำงาน และ (5) ทรัพยากรและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม สุวรรณกุล. (2552). การรบริหารจัดการที่ดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จูน เจริญเสียง และคณะ. (2563). ธรรมาภิบาลในการสรรหาแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงและการกำกับธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. (2563). การปฏิรูปอุดมศึกษาไทยตามหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่: การปรับใช้ประสบการณ์ของประเทศเยอรมนีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ถนัด บุญชัย, อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์, ชูชีพ พุทธประเสริฐ และประพันธ์ ธรรมไชย (2559). การกำกับดูแลมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เหมาะสมโดยสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(4), 19-34.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2546). สภามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. ใน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมผู้รับบริการและประโยชน์สาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.

ไทย ทิพย์สุวรรณกุล. (2561). ระบบการได้มาและการประเมินสภาสถาบันและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

บุญเชิด หนูอิ่ม. (2563). สถานภาพระบบโครงสร้างองค์กรและการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2550 ที่มีผลต่อธรรมาภิบาล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 21-34.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2554). คุณธรรมจริยธรรมของสภามหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

พีรเดช ทองอำไพ. (2559). ประมวลหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา. (2559). พัฒนาการการบริหารรัฐของไทย: จากอดีตสู่อนาคต. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาวิช ทองโรจน์. (2553.). สภามหาวิทยาลัยกับหลักการบรรษัทภิบาล. กรุงเทพฯ: สภามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). ธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยของรัฐ: พหุกรณีศึกษา. วารสารวิจัยและวัดผลการ ศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 47-67.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2554). การปฏิรูปสภามหาวิทยาลัย ปฏิรูปอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

สถาบันคลังสมองของชาติ. (2552). บทบรรณาธิการ. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย, 1(1), 2.

สุดสาคร สิงห์ทอง. (2560). ธรรมาภิบาลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในภาคใต้ของประเทศไทย. อินทนิลทักษิณสาร, 12(2), 131-158.

สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2536). การพัฒนาระบบบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพและการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และแทน พิธิยานุวัฒน์. (2556). การประเมินสภามหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

Morse, J. M. & Field, P. A. (1995). Qualitative Research Methods for Health Professionals. Thousand Oaks: Sage Publications.

Patton, M. Q. (2002). Qualitative research and evaluation methods. (3rd ed.). CA: Thousand Oaks: Sage Publications.

Yin, R. K. (2013). Case study research: Design and methods. (5th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.