การพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพส่งผลต่อคุณภาพงานสอบบัญชี ของผู้ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

Main Article Content

ผาณิตา สันติสุข
พรรณทิพย์ อย่างกลั่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาความรู้ ที่มีผลเชิงบวกต่อคุณภาพงานสอบบัญชี
ของผู้ตรวจสอบ การเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 2) เพื่อศึกษาทักษะทางวิชาชีพสอบบัญชีที่มีผลเชิงบวกต่อคุณภาพงานสอบบัญชี ของผู้ตรวจสอบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีประชากร คือ ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินในสังกัดสำนักตรวจสอบการเงินและบริหารพัสดุที่ 1-24 ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 836 คน ประกอบด้วย พนักงานสมทบตรวจเงินแผ่นดินชั้น 3 นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินชำนาญการ และนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินชำนาญการพิเศษ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 293 คน ที่มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ จากวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาความรู้ ด้านการบัญชีและการสอบบัญชี ด้านความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณ กฎระเบียบ ข้อบังคับ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในภาพรวม 2) ทักษะทางวิชาชีพสอบบัญชี ทักษะทางปัญญา ทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล ทักษะทางปฏิบัติสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร ทักษะทางองค์การและการจัดการ ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในภาพรวม ยกเว้นทักษะทางวิชาชีพสอบบัญชี ที่ไม่ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินด้านความถูกต้องและครบถ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติคม จีนเหรียญ. (2560). อิทธิพลของความรู้ความสามารถ คุณลักษณะ หลักฐานการสอบบัญชีที่ดีและความสามารถ ทางการบริหารงานที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชลิดา ลิ้นจี่. (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ชวนา วิวัฒน์พนชาติ และ สมพงษ์ พรอุปถัมภ์. (2565). การกำกับดูแลและผู้นำทำให้คุณภาพของสำนักงานสอบบัญชีดีขึ้นอย่างไร. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.tfac.th

ปริยากร ปริโยทัย และ สุภัทรษร ทวีจันทร์ (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในประเทศไทย. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences, 1(2), 13-18.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (2566). ข้อมูลบุคลากรสำนักงานการาตรวจเงินแผ่นดิน: ระบบบริหารทรัพยากร

บุคคคล. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก https://dpis.audit.go.th

ทิพวรรณ์ ศิริมาตร. (2555). ผลกระทบของคุณลักษณะหลักฐานการสอบบัญชีที่ดีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิตมหาสารคาม). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศานิตา บุญคง (2564). ทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (สารนิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิวนาถ หล้าคำมี (2561). ความสัมพันธ์ของสมรรถนะทางวิชาชีพกับการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี (สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศุภวิชญ์ แก้วปานันท์ (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพกับความสำเร็จในอาชีพของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. (สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฎฐณิชา คล้ายแก้ว (2562). ผลกระทบสมรรถนะของผู้สอบบัญชีและการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สกุณา มาอู๋ (2562). ทักษะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สายฝน อุไร (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพบัญชีกับความสำเร็จใน การปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 49-68.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2562). พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.audit.go.th/th/พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน-พ.ศ.-2561

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2562). ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน. ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.audit.go.th/th/

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2548). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง เนื้อหาของโปรแกรมการศึกษาทางวิชาชีพ. ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.tfac..th

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 3 เรื่อง การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก-ทักษะทางวิชาชีพ (ฉบับปรับปรุง). ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.tfac.or.th

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 3 เรื่อง ทักษะทางวิชาชีพ. ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.tfac.or.th

อมลยา โกไศยกานนท์. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของงานสอนบัญชี : กรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร เที่ยงตระกูล. (2557). ความรู้ทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพ และคุณค่าทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตภายใต้มาตรฐานสากลที่มี่ผลต่อการดำเนินงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของผู้ใช้บริการกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Flippo, E. B. (1996). Principles of Personnel Management. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row.