บทบาทรัฐและภาคประชาสังคมในการกำกับดูแลรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมในอ่าวไทย

Main Article Content

นฤมล กัลยาณมิตร
เกรียงชัย ปึงประวัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบาย ข้อกฎหมาย วิธีการประมูลแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทย 2) บทบาทของรัฐในการกำกับดูแลการรื้อถอนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมในอ่าวไทย และ 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคผู้รับสัมปทาน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการรื้อถอนแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมในอ่าวไทย ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 11 ท่าน ประกอบด้วย ผู้บริหารของภาครัฐ นักการเมือง ผู้รับสัมปทาน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ คัดเลือกแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) เมื่อเอกชนได้รับสิทธิตามสัญญาสัมปทานจากรัฐบาลในการลงทุนก่อสร้าง
และดำเนินงานเพื่อหาผลตอบแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นจะเป็นของภาคเอกชน แต่หลังจากการสิ้นสุดอายุสัมปทาน กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่ลงทุนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาล โดยผู้รับสัมปทานเดิมต้องจ่ายเงินเป็นหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง 2) ภาครัฐต้องเข้าไปมีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับการสัมปทานในครั้งนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งกับผู้รับสัมปทานรายเดิมและผู้รับสัมปทานรายใหม่ให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อยโดยสันติวิธีไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับผลกระทบมากจนเกินไป
และ 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคผู้รับสัมปทาน และภาคประชาสังคมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากทั้งสามภาคส่วนเป็นทั้งผู้ที่มีส่วนได้และเป็นผู้ที่มีส่วนเสียร่วมกัน โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและผู้รับสัมปทาน เป็นไปในทิศทางและจุดหมายเดียวกัน คือ ความมั่นคงทางพลังงานของชาติเป็นหลัก ส่วนภาคประชาสังคม จะพิจารณาว่าสังคมได้อะไรจากการกระทำของภาครัฐ และจะส่งผลกระทบกับตนเองอย่างไร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวง กำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559. (2559). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 14 ก.

กรีนเน็ตเวิร์ค. (2562). ความสำเร็จสัมปทานแหล่งพลังงาน เอราวัณ-บงกช อีกก้าวของความมั่นคงอนาคตพลังงานไทย. ค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2563, จาก https://www.greennetworkthailand.com/เอราวัณ-บงกช-พลังงานไท

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ. (2562). คอลัมน์ คมคิดฅนเขียน: ใครได้ประโยชน์?. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จาก https://www.facebook.com/dmffanpage/photos/a.596642627025152/248924793764602/?type=3

จริยา ชาตะสุวัจนานนท์. (2555). การศึกษาความขัดแย้งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ศึกษากรณีโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เทศบาลนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรสวรรค์ สุวัณณศรีย์. (2552). การจัดการความขัดแย้งของชุมชน: การใช้ภาษาในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้นำชุมชน ตำบลนาดินดำ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. จังหวัดเลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514. (2514). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 88 ตอนที่ 43 ฉบับพิเศษ.

พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514. (2514). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 88 ตอนที่ 43 ฉบับพิเศษ.

ภูมิพัฒน์ ศรีวชิรพัฒน์. (2562). ตัวแสดงและปัจจัยทางการเมืองในการนำนโยบายการประเมินคุณภาพภายนอกไปปฏิบัติตามแนวนโยบายปฏิรูปการศึกษา: ศึกษากรณีระดับอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2550). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือการแก้ปัญหา. (พิมพ์ครั้งที่3). ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.

ศูนย์ข่าวพลังงาน. (2562). ประเด็นรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม รัฐและเอกชน ต้องเจรจาบนหลักของความเป็นธรรม. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จาก https://www.energynewscenter.com/ประเด็นรื้อถอนแท่นผลิต

อิทธิชัย ธนพิบูลย์. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา กลุ่มเครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพและสิ่งแวดล้อม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (ม.ป.ป.). ชุดวิชา 81713 การวิเคราะห์การเมือง หน่วยที่ 10 แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง.

ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จาก https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/81713-10.pdf

Energynewscenter.com. (2562). แง้มกฎกระทรวง เปิดช่องรัฐเจรจาผู้รับสัมปทาน ยุติปัญหารื้อถอนแท่นปิโตรเลียม. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564, จาก https://www.energynewscenter.com/แง้มกฎกระทรวง-เปิดช่องร/