ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและประสิทธิภาพการควบคุมภายในกับคุณภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ธิดารัตน์ เกิดอยู่
พรรณทิพย์ อย่างกลั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและประสิทธิภาพการควบคุมภายในกับคุณภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 284 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการศึกษาพบว่า จรรยาบรรณวิชาชีพ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความรู้ ความสามารถ ความเอาใจใส่และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน และพฤติกรรมทางวิชาชีพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความทันเวลา และความเข้าใจได้ ความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ และความรู้ ความสามารถ ความเอาใจใส่และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านการเปรียบเทียบกันได้ ความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ ความรู้ ความสามารถ ความเอาใจใส่ และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน และความโปร่งใส มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านการพิสูจน์ยืนยันได้ และประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ได้แก่ สภาพแวดล้อมการควบคุม สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และการพิสูจน์ยืนยันได้ สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม และการเปรียบเทียบกันได้ และการประเมินความเสี่ยง สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามและประเมินผลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความทันเวลา และความเข้าใจได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แก้วทิพย์ วงษ์ไทยผดุง. (2563). ความสำคัญของระบบควบคุมภายใน. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565, จาก https://www.spu.ac.th/award/35146/erfdsdfs

จิณห์ระพีร์ พุ่มสงวน. (2561). การควบคุมภายในตามแนวทางของ COSO. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/risk_mgt/th /article/03092016-0912

จิตรลดา สีหามาตย์. (2561). ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของหน่วยงานภาครัฐในมุมมองของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ดารารัตน์ สุขแก้ว, วาสุกาญจน์ งามโฉม และฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพและประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนครปฐม. สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 2(2), 52-58.

ทัดดาว สิทธิรักษ์. (2557). ผลกระทบศักยภาพของนักบัญชีที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน กรณีศึกษาเชิงประจักษ์นักบัญชีในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ทิพย์สุดา ทาสีดำ. (2564). ผลกระทบของความน่าเชื่อถือของสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มนุษยสังคมสาร (มสส.), 20(2). 179-200.

ผกาวดี นิลสุวรรณ และคณะ. (2563). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ที่ส่งผลต่อคุณภาพของการจัดทำงบการเงินของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (ค้นคว้าอิสระบัญชีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

แพรวารี จูมด้วง. (2560). ผลกระทบของประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี (ค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วราภรณ์ ชัชกุล. (2560). ผลกระทบมาตรฐานการปฏิบัติงาน จรรยาบรรณในวิชาชีพบัญชี และการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออก (ค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2559). บริหารจัดการ SMEs ด้วยบัญชี. วารสารวิชาชีพ, 12(36), 85-92.

สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. (2554). มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน ฉบับปรับปรุงใหม่ 2554. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565, จาก https://op.mahidol.ac.th

สลักจิต นิลผาย. (2563). การตระหนักถึงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และคุณภาพรายงานทางการเงิน : หลักฐานจากธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 190-203.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). จำนวนผู้ประกอบการรวม. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.sme.go.th/th/

สิริพรรณ์ โกมลรัตน์มงคล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย(วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุวรรณี รุ่งจตุรงค์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและคุณภาพงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 19(2) , 139-153.

อมรรัตน์ บูรณะพล และปวีณา คำพุกกะ. (2561). อิทธิพลของจริยธรรมและการฝึกอบรมของนักบัญชีที่มีต่อความคิดเห็นต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 103-114.

อัจฉรา มานะอริยกุล. (2559). ระบบบัญชี. กรุงเทพฯ: ซี แอนด์เอ็น บุ๊ค.

Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research. New York: John Wiley & Sons.

Augustine, O.E. et al. (2015). The Effect of Accounting Ethics on the Quality of Financial Reports of Nigeria Firms. Research Journal of Finance and Accounting, 6 (12), 123-130.

Bangsa, I.N. (2018). The Effect of Internal Control Systems, Accounting Systems on the Quality of Financial Statements Moderated by Organizational Commitments. Accounting Analysis Journal, 7 (2), 127-134.

Hutagalung, D.H.N.I. ( 2 0 1 8 ). Factors affecting the quality of financial statement in Medan city government. Journal of Public Budgeting Accounting and Finance, 1(3), 1-13.

OGOUN, S.. (2020). Accounting Ethics and Quality of Financial Reporting. ISJASSR, 3(1), 60-75.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.