ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอะไหล่รถยนต์

Main Article Content

พรศักดิ์ พรสุขสว่าง
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
สโรชินี ศิริวัฒนา
สุดา สุวรรณาภิรมย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอะไหล่รถยนต์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอะไหล่รถยนต์รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้างานและพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทน จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (multiple regression analysis: MRA) ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงงานอะไหล่รถยนต์มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอะไหล่รถยนต์ภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมักจะมีวิธีในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การส่งมอบสินค้าที่ผลิตทันต่อความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและภายนอก มักจะค้นพบวิธีการทำงานให้มีประสิทธิผลมากกว่าเดิม มักจะทำงานได้ดีกว่าโดยเฉลี่ยของคนส่วนใหญ่ และมักจะผลิตผลงานที่ดีเลิศ ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอะไหล่รถยนต์ คือ การพัฒนาบุคคล ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ผู้ประกอบการโรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กร และการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาบุคคล เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานและองค์กรมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บายศรี จั่นอาจ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประภัสสร เจริญนาม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชน ในเขตบริการสุขภาพที่ 3-6. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(51), 316-341.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2559). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พัชราภรณ์ เนียมมณี และวลัยลักษณ์ อัตรธีรวงศ์. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงของโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมยานยนต์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มยุรี วรรณสกุลเจริญ และชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ.วารสารศิลปการจัดการ. 4(1), 193-204.

วลัยพรรณ พรไพรสาร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มอะไหล่รถยนต์ จังหวัดนครราชสีมา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุชาติ ตรีไชย. (2562). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการสืบสวน สอบสวน ตำรวจภูธรภาค 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

อาณัฐ พรหมอ่อน. (2559). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 6(2), 58-67.

Griffin, R. W. (1999). Management (6th ed.). USA: Houghton Miffin.

Koontz, H. (1974). Principles of Management. New York: McGraw Hill.

Lawrence, P. R., & Lorsch, J. W. (1967). Organization and environment. Boston, MA: Cambridge.

Robbins, S. P., & Decenzo, D. A. (2005). Management (6th ed.). New York: Prentice Hall.

Schein, E. H. (1970). Organizational Psychology (2nd ed.). NJ: Prentice-Hall.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.