แนวทางกำหนดค่าขนส่งสินค้าทางทะเลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

ธราญา ลุ่ยพรสุขสว่าง
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล
สโรชินี ศิริวัฒนา
สุดา สุวรรณาภิรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การขนส่งสินค้าทางทะเลในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) นำเสนอแนวทางการกำหนดค่าขนส่งสินค้าทางทะเลที่เหมาะสมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้แนวทางการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 ราย จากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเดินเรือ ผู้ประกอบการบริษัทนำเข้าและส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส และตัวแทนสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การขนส่งสินค้าทางทะเลในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องมาจากประเทศต้นทางทำการปิดประเทศทำให้การส่งออกสินค้าทางทะเลเกิดการชะลอตัว และ 2) แนวทางการกำหนดค่าขนส่งสินค้าทางทะเล มีข้อเสนอ ดังนี้ (1) ผลักดันประเด็นการกำหนดค่าขนส่งสินค้าทางทะเลให้เข้าสู่เวทีนานาชาติให้แก้ไขปัญหาร่วมกัน (2) หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันทางการค้าในแต่ละประเทศ ต้องให้ความสำคัญและพัฒนากลไกควบคุมการแข่งขันและการกำหนดอัตราค่าระวางและค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งสินค้าทางทะเล (3) การกำหนดนโยบายด้านราคาของผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมถึงมีการสร้างเวทีให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน (4) ยกระดับการจัดการระบบข้อมูลตู้สินค้าเข้าออกรายวันอย่างใกล้ชิด และ (5) พัฒนาระบบแพลตฟอร์มการค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2555). แผนยุทธศาสตร์กรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2554 – 2558. ค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2564, จาก http://www.dlt.go.th/th/attachments/plan48-51/2223

กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. (2561). International Health Regulation (2005) THIRD EDITIO กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (2005). ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก https://cdn.who.int/ media/docs/default-source/searo/thailand/thai.pdf?sfvrsn=9bb97cfd_0

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2563). การขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์บนความปกติใหม่ (New Normal) ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. จดหมายข่าวกองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์, 3(2), 4-7. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link. php?nid=10961

จิรวัฒน์ สุริยะโชติชยางกูล. (2563). ปัญหาการปฏิบัติตามกฎระเบียบในช่วงวิกฤตโควิด-19. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก https://tdri.or.th/2020/02/covid-4/

นิตยา ชูมี. (2552). การจัดทำดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางทะเลเพื่อการนำไปประกอบการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของภาครัฐและเอกชน. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

พิมพ์ชนก โฮว. (2564). Container Shortage: COVID-19 และการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/7325

วันเพ็ญ ไกรเกียรติสกุล. (2549). การวิเคราะห์ปัจจัยค่าระวางการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ:กรณีศึกษาเส้นทางไทย-เซี่ยงไฮ้ และเส้นทางไทย-สิงคโปร์ (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย. (2563). สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2563 และแผนงาน/โครงการปี 2564. กรุงเทพฯ: สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2564). ปัญหาค่าขนส่งทางเรือสูงในช่วงโควิด-19. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2564, จาก https://tdri.or.th/2021/04/covid-111/

สำราญ ทองเล็ก. (2553). การจัดการกิจการพาณิชยนาวี. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สราวุธ พุฒนวล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งท่าเรือระนอง จังหวัดระนอง (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

MarinerThai.com. (ม.ป.ป.). การขนส่งทางเรือด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2564, จาก http://www.marinerthai.net/sara/viewsara1006.php

Millefiori et al. (2021). COVID-19 impact on global maritime mobility. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2564, จาก https://doi.org/10.1038/s41598-021-97461-7

Thaipublica. (2020). WHO ประกาศการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ เป็นภาวะฉุกเฉินโลกด้าน สาธารณสุข. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2564, จาก https://thaipublica.org/2020/01/who-international-health-emergency-corona-virus-outbreak-2020/