อิทธิพลของคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีและกระบวนการจัดการที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณแบบเพิ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ฐิตาภรณ์ ใจดี
มัตธิมา กรงเต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณแบบเพิ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณแบบเพิ่มประสิทธิภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณ และ หัวหน้ากลุ่มสาระฯ จำนวน 237 ราย ใช้การคำนวณหากลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 0.05 เครื่องมีที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยมีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับข้อมูลทางการบัญชี มีอิทธิพลต่อการบริหารงบประมาณแบบเพิ่มประสิทธิภาพ  ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย  ด้านมีความยุติธรรม  ด้านความโปร่งใสตรวจสอบได้ ด้านการสร้างการมีส่วนร่วม ด้านกำหนดเป้าหมายและมาตรฐานได้ชัดเจน ด้านผลสัมฤทธิ์ของงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติศักดิ์ เขียวไสว. (2559). การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานและความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน ในกลุ่มอุตสาหกรรมอมตะนคร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2553). ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลคนละความหมาย. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/321886

จักรพงษ์ สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2554). การยอมรับบริการการสื่อสารระหว่างกันผ่านข้อความและรูปภาพแบบทันทีผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Instant Messaging: MIM) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จารุวรรณ พิมเสน. (2564). คุณลักษณะของผู้ใช้ระบบสารสนเทศที่มีผลต่อความสำเร็จของระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 23 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2559). คู่มือสู่องค์การแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ณฐมน พิจิตรไพรวัลย์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและตัดสินใจเลือกใช้ระบบบัญชีออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฐพงศ์ ศาลาพฤกษ์. (2562). ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

แดน กุลรูป. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชี : กรณีศึกษา กลุ่มข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพ ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เมธี ไพรชิต. (2556). การหาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท สุธานี จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

สาวิตรี พรหมรักษา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชี และประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.