การพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระชายน้ำผึ้งมะนาวในรูปแบบ Jelly Stick

Main Article Content

ณัฐริกานต์ แก้วโกลฐาฏ์
ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์
อานุภาพ คีรีพัฒน์
ณัฏฐชัย เอกนราจินดาวัฒน์
สุภาพ พงษ์เพ็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและความต้องการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระชายน้ำผึ้งมะนาวในรูปแบบ Jelly Stick 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระชายน้ำผึ้งมะนาวในรูปแบบ Jelly Stick 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระชายน้ำผึ้งมะนาวในรูปแบบ Jelly Stick การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ด้วยวิธีการศึกษากลุ่มเดียววัดหลายครั้ง กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครเพศชายและหญิงผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคภูมิแพ้ระบบหายใจส่วนบน ที่มีอาการคัดจมูก น้ำมูกใสไหลลงคอ ไอ จาม คันจมูก และไม่มีไข้ ซึ่งสมัครใจเข้ารับการรักษาในทัชอินโนเวทีฟคลินิกแพทย์แผนไทยจำนวน 30 คน ซึ่งมีเกณฑ์การคัดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินันพาราเมตริก เนื่องจากผลของกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้ลักษณะข้อมูลเมื่อทดสอบมีการกระจายแบบไม่เป็นปกติโดย ใช้สถิติ Wilcoxon


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระชายน้ำผึ้งมะนาวที่ขายมีทั้งแบบพร้อมดื่มและแบบชนิดผง ปัญหาคือมีตะกอนในน้ำ และความต้องการผลิตภัณฑ์ที่บรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกใส ไอ จาม ได้ดีโดยคงไว้ซึ่งรสชาติความเป็นเอกลักษณ์ของกระชายน้ำผึ้งมะนาวและไม่มีตะกอนเนื้อสมุนไพรในขวดหรือเมื่อนำมาชงแล้ว2) พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่เป็น Jelly Stick เพื่อลดปัญหาตะกอนผงสมุนไพรที่ไม่ละลายและยังคงส่วนผสมจากสารสกัดกระชายที่มีคุณค่าทางโภชนาการ 3) ความพึงพอใจต่อระดับอาการทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน เปรียบเทียบระหว่าง สัปดาห์ที่ 1 กับสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 1 กับ สัปดาห์ที่ 8 มีแนวโน้มพึงพอใจสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2566). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์ วันที่ 28 พค - 3 มิย 2566. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=main

จีรนันท์ กล่อมนรา และคณะ. (2561). การพัฒนาสูตรเยลลี่จากลองกองลูกร่วง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 23(2), 767-778.

ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก และ อภิรักษ์ ศักดิ์เพ็ชร. (2564). การแยกสารพิโนสโตรบินจากกระชายเพื่อการควบคุมคุณภาพ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก, 19(2), 424-434.

ธัญลักษณ์ ธรรมจักษ์ และภัทรวรรณ แท่นทอง. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเจ ในอาเภอเมือง จังหวัดตรัง. WMS Journal of Management Walailak University, 8(1), 84-97.

ภดารัชช์ จาวจักรศิริ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่แคลอรี่ต่ำจากไซเดอร์มะเขือเทศ. (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาสุรี ฤทธิเลิศ และ กมลวรรณ วารินทร์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่มะม่วงหาวมะนาวโห่. Thai Journal of Science and Technology, 9(2), 342–354.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์. (2563). กระชาย สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายเหลือง. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จาก https://www.opsmoac.go.th/surin-local_wisdom-preview-422891791854

disthai.com. (ม.ป.ป.). มะนาว ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่น ๆ และข้อมูลงานวิจัย. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จาก https://www.disthai.com/16941374/มะนาว

Fitz – Gibbon, C. T. & Morris, L. L. (1987). How to design a program evaluation. Newbury Park, CA: Sage.

Hfocus. (2020). “4 wave” ระบบสาธารณสุขไทย กับผลกระทบระยะยาวจาก “โควิด-19”. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จาก https://www.hfocus.org/content/2020/04/19160

Medthai.com. (2020). น้ำผึ้ง สรรพคุณและประโยชน์ของน้ำผึ้ง 54 ข้อ !. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จาก https://medthai.com/น้ำผึ้ง