บรรษัทภิบาล และการวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ปุญชรัสมิ์ ทองรักจันทร์
ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข
ปัทมา พยุงวงศ์
วรรณวิมล นาคทัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบรรษัทภิบาลที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษี และ 2) การวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) ที่ได้จากงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) แบบ 56-1 One Report และคะแนนผลการประเมินจากเว็บไซต์ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) จำนวน 192 บริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการศึกษาพบว่า 1) บรรษัทภิบาลที่วัดค่าด้วยการกระจุกตัวของความเป็นเจ้าของ (OWN) การควบอำนาจในการบริหารของประธานกรรมการ (Dual CEO) ส่งผลต่อการวางแผนภาษี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 2) 2) การวางแผนภาษีที่วัดค่าด้วย อัตราส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง (ETR) อัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) และอัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์รวม (TAX/ASSET) ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา ศรีบุญเรือง และ จิราพัชร สุทธิ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่ากิจการกรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม ไอ. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 3(3), 59-74.

กานต์ธนิต พรหมโชติ. (2562). การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้นกับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 32-53.

เจนจิรา ศรีประไพ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนกนันท์ เทียมรัตน์. (2564). การศึกษากลยุทธ์การเติบโตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฐิตาพร กุลศิริวนิชย์. (2563). ผลกระทบของการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ดวงเนตร วงศ์วิวัฒน์. (2562). ความสัมพันธ์ของการวางแผนภาษีและกำไรทางบัญชีที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET100 (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). ข้อมูลสถิติทางธุรกิจหลักทรัพย์. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567, จาก https://www.set.or.th/th/market/statistics/market-statistics/trading-statistics

ธัญวรัตม์ สุขสถิตย์ และดารณี เอื้อชนะจิต. (2565). ความสำคัญของการวางแผนภาษีต่อการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(9), 1-15.

บดินทร์ มหาวงศ์ และ ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานและการหลบหลีกภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET 100 Index. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 13(18), 15-40.

ปาลิดา จันแดง (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

รสนา โชติสุวรรณ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับราคาหุ้นสามัญบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (2566). Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2023. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567, จาก https://shorturl.asia/vzBks.

อรวรรณ เชื้อเมืองพาน. (2562). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Ftouhi, K., Ayed, A., and Zemzem, A. (2015). Tax planning and firm value: evidence from European companies. International Journal Economics & Strategic Management of Business Process, 4(1), 73-78.

Hidayat, A., and Yuliah, N. (2018). The effect of good corporate governance and tax planning on company value. EAJ (Economics and Accounting Journal), 1(3), 234-241.

Hoffman, W. H. (1961). The theory of tax planning. The Accounting Review, 36(2), 274.

Jensen, M. C., and Meckling, W. H. (1976). Theory of the firm: Managerial, agency costs and ownership structure. Journal of financial economics, 3(4), 305-360.