ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล (ESG) และทุนทางปัญญา ส่งผลต่อความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล (ESG) และทุนทางปัญญา ส่งผลต่อความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 145 บริษัท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่และร้อยละ (Frequency and Proportion) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุด (Minimum) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Analysis) และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการศึกษาพบว่า คะแนนการกำกับดูแลกิจการ (CGR) สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (SBP) มีอิทธิพลระหว่างกันในทิศทางตรงข้ามกับทุนทางปัญญา (IC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สัดส่วนคณะกรรมการอิสระ (IND) มีอิทธิพลระหว่างกันในทิศทางเดียวกับทุนทางปัญญา (IC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประสิทธิภาพสินทรัพย์ลงทุน (CEE) โครงสร้างเงินทุน (Leverage) มีอิทธิพลระหว่างกันในทิศทางเดียวกับความสามารถทำกำไร (Profitability) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กชมน วิมลอนุพงษ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางปัญญา โอกาสในการเติบโต และผลดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กิตติมา ทางนะที, พร้อมพร ภูวดิน, สุมาลี เอกพล และ คุณากร ไวยวุฒิ. (2565). ทุนทางปัญญากับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 11(2), 105-118.
จารุวรรณ เอกสะพัง. (2562). การวิเคราะห์อิทธิพลโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่อมูลค่าข้อมูลทางบัญชีโดยส่งผ่านทุนทางปัญญา : หลักฐานเชิงประจักษ์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562). Corporate Governance Report (CGR). ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.setsustainability.com/page/cgr-corporate-governance-report.
ทิพญา บุตรกะวี และ ภัทรพร พงศาปรมัตถ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างรายงานความยั่งยืนกับมูลค่ากิจการ. โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564, วันที่ 1 เมษายน 2564.
ธนวรรณ เจริญทิพย์. (2561). ผลของทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นารินทิพย์ ท่องสายชล. (2565). ESG การลงทุนในโลกยุคใหม่. ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จาก https://setinvestnow.com/th/knowledge/article/165-tsi-invest-in-esg-stocks-in-new-investmentera
ฝ่ายส่งเสริมธรรมาภิบาลและความยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.). (2564). มุมมองผู้ลงทุนต่อบทบาทกรรมการบริษัท ปัจจัยสำคัญสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนของกิจการ. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566, จาก https:// sec.or.th/TH/Template3/Articles/2564/110164.pdf
พรลักษมิ์ พลเดช. (2563). การกำกับดูแลกิจการ ทุนทางปัญญาและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
พิชญาภัค เพชรสีสุก. (2565). “ESG” แนวคิดความยั่งยืนที่องค์กรควรใช้เป็นเครื่องมือหรือแค่เทรนด์ตามกระแส. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จาก https://www.nia.or.th/ESG-sustainability-concepts-or-trends
ภัสสิริ ศรสงคราม. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลขององค์กร (ESG) กับมูลค่ากิจการ (TOBIN’S Q) ในหมวดธุรกิจพลังงานที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาวรรณ ศุนาลัย. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับความเสี่ยงจากความล้มเหลวทางการเงิน ผ่านทุนทางปัญญาของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันไทยพัฒน์. (2563). ESG 100 Universe. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.thaipat.org/ 2020/12/esg-100-universe.html
อุบลวรรณ ขุนทอง โสวัตรธนา ธารา และ ชาคริต บุตรบำรุง. (2565). อิทธิพลของความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 9(1), 107-120.
Karyani, E. and Perdiansyah, M.R.. (2022). ESG and intellectual capital efficiency: evidence from Asean emerging markets. Journal Akuntansi dan Keuangan Indonesia, 19(2), 167-187.
Rana, S. and Hossain, S.Z. (2023). Intellectual, Firm Performance, and Sustainable Growth: A Study on DSE-Listed Nonfinancial Companies in Bangladesh. MDPI, Basel, Switzerland, 15, 7206.
Muttakin, M.B., Khan, A. and Belal, A.R. (2015). Intellectual Capital disclosures and corporate governance: An empirical examination. Advances in Accounting, incorporating Advances in International Accounting, 31(2), 219-227.