การขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อ

Main Article Content

สุธาทิพย์ จันทรักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทและสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2) กระบวนการนำนโยบายการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ และ 3) รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบไร้รอยต่อเพื่อผู้สูงอายุสุขภาพดี ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 ราย โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์วิจัย


ผลการศึกษาพบว่า 1) จำนวนผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้น สุขภาพของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคเรื้อรังที่หลากหลายส่งผลต่อคุณภาพชีวิต มีโครงสร้างครอบครัวที่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ผู้ดูแลในครอบครัวมีจำกัด ส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลและครอบครัวทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อารมณ์และสุขภาพ 2) กระบวนการนำนโยบายการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุมีปัจจัยสำคัญหลายประการ อาทิ การดำเนินกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มาตรการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การติดตามการดำเนินงาน และการประเมินผล เป็นต้น 3) รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ก) หน่วยงานภาครัฐในระดับนโยบายส่วนกลางควรมีนโยบายที่ชัดเจน ข) ควรสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ค) ควรให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ในชุมชนเป็นแกนกลางขับเคลื่อนนโยบาย เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ง) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุทั้งในครอบครัว ชุมชนและสังคม ในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมภายในชุมชน และ จ) ควรให้ความรู้แก่ ครอบครัวและญาติในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เพียงพอต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดรุณี นิลแก้ว, นพดณ ปัญญาวีรทัต และ ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2566). ประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567, จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JSMIS/article/view/1785/1978

พรรณี สมเทศน์. (2552). การดูแลผู้สูงอายุในระดับครอบครัว กรณีศึกษาบ้านนาศรีดงเค็ง ตำบลสะอาดอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2563). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567, จาก https://thaitgri.org/?p=39772

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.(2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40ก. หน้า 1-90.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2553). ( 2546, 22 ธันวาคม ). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 1-13.

วชิรนันท์ ศิริกุล. (มปป.). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2567, จากhttps://w1.med.cmu.ac.th/ commed/wp-content/uploads/2021/07/L7-เอสารประกอบการสอน.pdf?x47786

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. (2553). รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัมนาผู้สูงอายุไทย.

สายพิณ เลาว้าง, วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ. (2565). ชุดความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและชนบท. ค้นเมื่อ 15มกราคม 2567, จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JPP/article/view/626/348

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). รายงานประจำปี. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=intro

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง และภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพึงในยุคประเทศ. Dhammathas Academic Journal, 17(3), 235-243.

Our World in Data team.(2023). Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages. Retrieved from https://ourworldindata.org/sdgs/good-health-wellbeing

World Health Organization. (2016). Integrated Care for Older People: Guidelines on Community-Level Interventions to Manage Declines in Intrinsic Capacity. Retrieved Mar 11, 2024, from https://www.who.int/ageing/health-systems/icope/evidence-centre/ICOPE-evidence-profile-depressive.pdf?ua=1

World Health Organization. (2019). Integrated care for older people (ICOPE) Handbook: Guidance on person-centered assessment and pathways on primary care. Retrieved Feb 27, 2023, from https://www.who.int/publications/i/item/WHO-FWC-ALC-19.1