รูปแบบการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม กลยุทธ์ทางการตลาด การจัดการความรู้ภายในองค์กร การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของกลยุทธ์ทางการตลาด การจัดการความรู้ภายในองค์กร การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ 3) นำเสนอรูปแบบการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคน้ำดื่มที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบน้ำดื่ม ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินคุณภาพน้ำดื่ม ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่มีความชำนาญในการผลิตน้ำดื่มมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม กลยุทธ์ทางการตลาด การจัดการความรู้ภายในองค์กร การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) ตลาดอิเล็คทรอกนิกส์ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่มมากที่สุด รองลงมาได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การจัดการความรู้ และการจัดการลูกค้า ตามลำดับ และ 3) ได้รูปแบบการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย ตลาดอิเล็คทรอกนิกส์ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีสภาพวแวดล้อมทางธุรกิจ และการจัดการความรู้ อยู่ตรงกลาง และการจัดการลูกค้าช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำดื่ม ต้องประกอบด้วย การเงิน ความสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทรัพยากร และการดำเนินงาน ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านน้ำดื่มเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ให้สามารถเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กฤษฎา ฉัฐนะ. (2561). รูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาโครงการที่พักประเภทโอสเทลในกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาปัตยกรรม, 8(2), 89 -102.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). วิธีบริโภคน้ำประปาอย่างปลอดภัย. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
วริศรา สมเกียติกุล. (2562). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมืองในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 9(2), 250-263.
ศศิพร ต่ายคำ. (2560). การเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี.วารสารการพัฒนา, 8(1), 222-236.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ตลาดเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์. กรุงเทพฯ: กสิกรไทย.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2564). แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันอาหาร.
อุทิศ ทาหอม. (2662). รูปแบบการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ. วารสารพัฒนาสังคม, 20(2),35-60.
Freudenreich, B., Lüdeke-Freund, F. & Schaltegger, S. (2020).A Stakeholder Theory Perspective on Business Models: Value Creation for Sustainability. Journal of Business Ethics, 166, 3–18.
Giniuniene, J., & Jurksiene, L. (2015). Dynamic capabilities, innovation and organizational learning: Interrelations and impact on firm performance. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 213, 985–991.
Laukkanen, M. & Tura, N. (2020). The potential of sharing economy business models for sustainable value creation. Journal of Cleaner Production, 253, 120004.
Sanchez, P., & Ricart, J. E. (2020). Business model innovation and sources of value creation income markets. European management review, 7(3), 138-154.
Zausková, A., & Rezníckova, M. (2020). SoLoMo marketing as a global tool for enhancing awareness of eco–innovations in Slovak business environment. Equilibrium. Quarterly. Journal of Economics and Economic Policy, 15(1), 133–150.