รูปแบบการพัฒนาภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงิน เฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง

Main Article Content

ภูเมธ ลิ้มบวรสิน
สุดา สุวรรณาภิรมย์
สุนทร ผจญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง การบริหารองค์กรสมัยใหม่ การจัดการองค์กร การสื่อสาร และการสร้างคุณค่าร่วมท 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของอิทธิพลของการบริหารองค์กรสมัยใหม่ การจัดการองค์กร การสื่อสาร การสร้างคุณค่าร่วม ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคม ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง และ 3) เสนอรูปแบบการพัฒนาภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงาน และผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง จำนวน 380 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการด้านการสร้างภาพลักษณ์องค์กรด้วยความยั่งยืน การรับผิดชอบต่อสังคม ทีมีความรู้
และประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 15 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการองค์กร การบริหารองค์กรสมัยใหม่ การสื่อสาร และการสร้างคุณค่าร่วม อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) การบริหารองค์กรสมัยใหม่ มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อภาพลักษณ์ความผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การสร้างคุณค่าร่วม การสื่อสาร และการจัดการองค์กร ตามลำดับ และ 3) ได้รูปแบบการพัฒนาภาพลักษณ์ มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย การบริหารองค์กรสมัยใหม่ ที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีการสร้างคุณค่าร่วม และการสื่อสาร อยู่ตรงกลาง และการจัดการองค์กรช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นภาพลักษณะความรับผิดชอบต่อสังคม  ต้องประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลังสามารถนำผลวิจัยไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ในการสร้างภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทร์เจ้า สุภรรุ่งเจริญและ ทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า และความภักดีในตราสินค้าของกลุ่มโรงแรมใบไม้เขียว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(4), 27–43.

ธีรพร ทองขะโชค. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรปวีณ์ มานะสาคร, ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร และบุญศรี ธีรชัย. (2564). ประสิทธิผลความรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(7), 3109-3126.

อนุวัตร จุลินทร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Gurlek, M., Düzgün, E. and Uygur, S.M., (2017). How does corporate social responsibility create customer loyalty? The role of corporate image. Social Responsibility Journal, 13(3), 409-427.

Ki-Han Chung, Ji-Eun Yu, Myeong-Guk Choi, and Jae-Ik Shin. (2015). The Effects of CSR on Customer Satisfaction and Loyalty in China: The Moderating Role of Corporate Image. Journal of Economics, Business and Management, 3(5), 542-547.

Lee, K. H., & Vachon, S. (2016). Business Value and Sustainability. London: Palgrave Macmillan.

Mohammed, A. and Rashid, B. (2018). A conceptual model of corporate social responsibility dimensions, brand image, and customer satisfaction in Malaysian hotel industry. Journal of social sciences, 39(2), 358-364.

Pérez, A., Rodríguez del Bosque, I. (2013). Measuring CSR Image: Three Studies to Develop and to Validate a Reliable Measurement Tool. J Bus Ethics, 118, 265–286. https://doi.org/10.1007/ s10551-012-1588-8