คุณลักษณะของผู้ประกอบการ ส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพการบริการ การจัดการนวัตกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพการบริการ การจัดการนวัตกรรมและความสำเร็จของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) อิทธิพลของคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพการบริการและการจัดการนวัตกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) พัฒนารูปแบบความสำเร็จของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี - 60 ปี ขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จำนวน 440 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบแบบเจาะลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จำหน่ายสินค้าเสริมอาหารที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 18 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย 1) คุณลักษณะของผู้ประกอบการ ส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพการบริการ การจัดการนวัตกรรมและความสำเร็จของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ในระดับมาก 2) คุณลักษณะของผู้ประกอบการ ส่วนประสมทางการตลาด คุณภาพการบริการ และการจัดการนวัตกรรมมีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) รูปแบบความสำเร็จ ผู้ประกอบการต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง สร้างสินค้าดีราคาที่สมเหตุสมผลโดยผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพ ระดับมาตรฐานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสูงสุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ขวัญชนก พจนานุสรณ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราสินค้าอมาโด้ทางช่องทางออนไลน์ (การค้นคว้าอิสระ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
เจษฎา จันทรา. (2562). คุณลักษณะสำคัญของผู้ประกอบการธุรกิจหอพักเอกชนในเขตตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชานนท์ มหาสิงห์, จอมขวัญ สุวรรณรักษ์, & วิชัย เจริญธรรมานนท์. (2563). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดกลางที่มีสาขาเครือข่ายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(3).
ฐากูร อนุสรณ์ พาณิชกุล. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการจัดการนวัตกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จวิสาหกิจชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 14-25.
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). ส่องเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ “กินดี เฮลตี้ อยู่นาน!. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565,
ทรรศชล พงษ์ภควัต, & จิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2561). รูปแบบกลยุทธการตลาดและคุณภาพบริการสู่ผลสัมฤทธิ์ของธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 9(2).
ธนาคารกรุงเทพ. (2563). หลังโควิด-19ตลาดอาหารเสริมพุ่งกว่า 2 หมื่นล้านบาท. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565 จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/supplement-food-aftergrowth-covid-19
พัชรินทร์ เพชรช่วย, ปลื้มใจ ไพจิตร, & รัตติยาภรณ์ รอดสีเสน. (2564). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 8(1), 107-124.
พีพีทีวีออนไลน์. (2565). ตลาดอาหารเสริมโตเกือบ 8 หมื่นล้าน คนไทยยอมจ่ายเดือนละพันกว่าบาท. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2565, จาก https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/
สิริศักดิ์ รัชชุศานติ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบัญชีบริหาร ความเป็นมืออาชีพ และความสำเร็จขององค์กรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 344-353.
สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, & วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการจัดการนวัตกรรมซึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุผลสำเร็จทางการตลาดและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการสินค้าเกษตรซึ่งจะนำไปสู่ผลการดำเนินงานขององค์การ. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2566,
https://www.thonburi-u.ac.th/journal/Document/13-3-before/Journal13_3_11.pdf
สุพัตรา กาญจโนภาส, สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์, & บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2562). อิทธิพลของนวัตกรรมการจัดการคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ความไว้วางใจ และคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภคของธุรกิจตัวแทนการท่องเที่ยวแบบออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 58-71.
สุพันธุ์ มงคลสุธี. (2561). ความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ เลขที่ 2 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120.
อรรณพ ปานพวง, ธนพล ก่อฐานะ, & บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2565). รูปแบบบุพปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจส่งออกผลไม้. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(2), 202-221.
Bauzinske, E., Haydon, J., McArthur, S., & Bysshe, R. (2017). Opportunities in Europe for environmental labels. London: Euromonitor International.
Porcu, L., del Barrio-García, S., Alcántara-Pilar, J. M., & Crespo-Almendros, E. (2019). Analyzing the influence of firm-wide integrated marketing communication on market performance in the hospitality industry. International Journal of Hospitality Management, 80, 13–24. https://doi.org/10.1016/j.ijhm.2019.01.008
Wong, C., Chen, Y., & Huang, J. (2019). Customer service quality and its impact on entrepreneurial success: A study of small businesses in Thailand. Journal of Business Research, 125, 374-383.