ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชี ของนายทหารตรวจสอบภายใน สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรู้ ความสามารถการตรวจสอบภายใน และ(2) ปัจจัยด้านจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายใน สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก กลุ่มตัวอย่างคือ นายทหารตรวจสอบภายใน สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก จำนวน 108 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม
และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า (1) โดยภาพรวม ปัจจัยด้านความรู้ ความสามารถการตรวจสอบภายใน อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน อยู่ในระดับมาก และพบว่า ประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายใน สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบ (2) สมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ ความสามารถการตรวจสอบภายใน คือ ทักษะการสอบบัญชี และองค์ความรู้ในการสอบบัญชีส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายในทหารบก สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ด้านผลงานได้มาตรฐาน และพบว่าองค์ความรู้ในการสอบบัญชี ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายในทหารบก สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ด้านผลงานได้มาตรฐานและด้านความทันต่อเวลา ปัจจัยด้านจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน คือ การปกปิดความลับ และความสามารถในหน้าที่ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายในทหารบก สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ด้านผลงานได้มาตรฐาน การปกปิดความลับ ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของนายทหารตรวจสอบภายในทหารบก สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ด้านความเชื่อถือได้ และปัจจัยด้านจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน คือ ความเที่ยงธรรมส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชี ด้านความทันต่อเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2554). มาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2561). มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. (2566). หลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ (แก้ไขถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566). กรุงเทพฯ: กระทรวงการคลัง.
ชัยนรินทร์ วีระสถาวณิชย์. (2548). International Education Standards (IES). สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย, 1(4), 1-12.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: หจก. ทีพีเอ็น เพรส.
สายฝน อุไร, กัญญาณัฐ รัตนประภาธรรม และสลักจิต นิลผาย. (2558). ผลกระทบของสมรรถนะการสอบบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 34(4), 169-179.
สุวรรณี รุ่งจตุรงค์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Budiasa, I. P., & Handajani, L. (2017). Determinants of performance impact on quality auditor and internal audit capability model. Jurnal Akuntansi & Keuangan Daerah, 12(1), 32-44.
Haron, H., Ismail, I., & Yusof, N. A. Z. (2016). Importance of internal audit capability in management accounting and organization performance. Asian Journal of Business and Accounting, 9(2), 23-45.
Kemarayanthi, D. M. and Ramantha, I. W. (2023). Independensi, etika profesi, integritas dan kinerja auditor KAP di Bali. E-Jurnal Akuntansi, 33(1), 50-65.
Mahmud, A. M., Soetjipto, B. E., & Wardoyo, C. (2022). The influence of professional ethics and emotional intelligence implementation on auditor performance. Journal of Social Science, 3(3), 335-349.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.