ประสิทธิภาพการควบคุมภายในและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการเงิน และบัญชี ที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานการเงินในทัศนะของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ชญานันทน์ รุ่งแสง
พรทิวา แสงเขียว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพการควบคุมภายในมีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีมีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 349 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิธีที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการศึกษา พบว่า 1) ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินความเสี่ยง และด้านกิจกรรมการควบคุม และ 2) ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับสูง
โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความทันเวลาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือความถูกต้อง และด้านความครบถ้วนของรายงานทางการเงิน ส่วนคุณภาพของรายงานทางการเงินโดยรวมถือว่าอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน คือ ประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม และด้านสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลเชิงบวกต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการเปรียบเทียบกันได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานการเงินและบัญชี ด้านความถูกต้อง ด้านความทันต่อเวลา มีผลเชิงบวกต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ และด้านการเปรียบเทียบกันได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดารุณี ธรรมประวัติ และวิสาข์รัตน์ ภวภูตานนท์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีโรงพยาบาลของรัฐบาลในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 6(2), 58-67.

รัตนา สิทธิอ่วม. (2563). ผลกระทบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพการรายงานทางการเงินของนักบัญชีไทย. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(3), 65-78.

อติชาต ชอบบุญ. (2563). ทักษะวิชาชีพนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Basioudis, I. & Fong, S. (2022). The impact of internal control quality on financial reporting: Evidence from the financial sector. Journal of Accounting and Finance, 22(4), 45-68.

Beasley, M. S., Clune, R. & Hermanson, D. R. (2005). Enterprise Risk Management: An Empirical Analysis of Factors Associated with the Extent of Implementation. Journal of Accounting and Public Policy, 24(6), 521-531.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

COSO. (2013). Internal Control – Integrated Framework: Executive Summary. Retrieved August, 2, 2023, from https://www.oceg.org/coso-2013-internal-control-integrated-framework-executive-summary.pdf/

Horngren, C. T., Sundem, G. L. & Stratton, W. O. (2013). Introduction to management accounting (16thed.). Pearson Education.

IASB. (2021). Conceptual Framework for Financial Reporting. Retrieved August, 2, 2023, from https://www.ifrs.org/content/dam/ifrs/publications/pdf-standards/english/2021/issued/ part-a/conceptual-framework-for-financial-reporting.pdf

Tavakol, M., & Dennick, R. (2011). Making Sense of Cronbach's Alpha. International Journal of Medical Education, 2, 53-55.

Waddock, S., & Graves, S. B. (1997). The Corporate Social Performance-Financial Performance Link. Strategic Management Journal, 18(4), 303-319.

Yamane, T. (1970). Statistics: An introductory analysis. (2nded.). New York: Harper & Row.