คุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี และการบริหารงาน ด้านการเงินและบัญชี ที่มีผลต่อคุณภาพการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านบัญชีภาครัฐ ของกรมควบคุมโรค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี
และ 2) ที่มีผลต่อคุณภาพการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีภาครัฐ ของกรมควบคุมโรค เป็นการวิจัย
เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของกรมควบคุมโรค จำนวน 173 คน โดยใช้สูตรของTaro Yamane มีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลจากการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ด้านความรู้ทางวิชาชีพบัญชี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และด้านความสัมพันธ์
และการสื่อสารระหว่างบุคคล และ 2) การบริหารงานด้านการเงินและบัญชี ด้านความถูกต้อง ตามระเบียบราชการ
ด้านการรับเงิน ด้านการจ่ายเงิน และเก็บรักษาเงิน และด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน ส่งผลเชิงบวก
ต่อคุณภาพการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีภาครัฐ ของกรมควบคุมโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
จากการศึกษาจึงสามารถสรุปได้ว่า คุณภาพของการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีภาครัฐ
ของกรมควบคุมโรค ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มาจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งในเรื่องของคุณลักษณะ
ของผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี และการบริหารงานด้านการเงินและบัญชีของฝ่ายบริหารของหน่วยงาน ดังนั้น หน่วยงานจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาบุคคลกรอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน รวมถึงตัวบุคคลของผู้ปฏิบัติงานเอง จะต้องมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ เพื่อปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อม
หรือลักษณะของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมควบคุมโรค. (2566). ประวัติความเป็นมาของกรมควบคุมโรค. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/
กรมบัญชีกลาง. (2562). หลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้จัดทำบัญชีของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566, จาก https://www.cgd.go.th/cs/internet/internet/
กรมบัญชีกลาง. (2565). ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai). ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566, จาก https://newgfmisthai.gfmis.go.th/
กรมบัญชีกลาง. (2566). GAQA ระบบการประเมินผลคุณภาพการบัญชีภาครัฐ. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566, จาก https://gaqa.cgd.go.th/cgd-eva/authen/loginForm.do
ชนาภัค มุลกะกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีกับความกระตือรือร้นในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี, 2(3), 12-22.
ณัฐธิดา ประหยัดทรัพย์. (2560). คุณลักษณะและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางบัญชีของผู้ทำบัญชี ที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน. (ค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ดาระณี สุรินทรเสรี. (2550). คุณสมบัติที่จำเป็นของนักบัญชีในการให้บริการของสำนักงานบัญชีในจังหวัดบุรีรัมย์(รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
นันท์นภัส รักเดชะ. (2563). คุณลักษณะและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้จัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคใต้ของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ประวีณา เงินทิพท์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานการเงินและบัญชีของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วารุณี ฤทธิขจร. (2564). สรรถนะทางวิชาชีพบัญชีและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี กรมการเงินทหารอากาศ (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิไลรัตน์ เพ็ชรหึง. (2564). สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีและการตรวจสอบภายในภาคราชการที่มีผลต่อคุณภาพประเมินการปฏิบัติงานด้านบัญชีภาครัฐ ของสถาบันศึกษาอาชีวศึกษารัฐบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา(วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศุธิชา คำเนตร. (2564). ผลกระทบของสมรรถนะการปฏิบัติงานที่มีต่อประสิทธิผลทางการเงินและบัญชีของสำนักงานศาลยุติธรรม (ค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2565).รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2566, จาก https://www.audit.go.th/
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สิงห์บุรี. (2559). ระบบบริหารการเงิน (Financial Management). สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2566, จาก https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/mjaw/mti3/~edisp/webportal16200127272.pdf
อาทิตย์ อธิคม. (2562). สมรรถนะของนักบัญชีที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารระบบการเงินและบัญชีของกองทัพบก (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อาภาวรรณ สงวนหงษ์. (2563). การบริหารการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรงานการเงินและบัญชี สังกัดกระทรวงพาณิชย์ (ค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
HR OD. (2019). ทฤษฎีการบริหารจัดการ POCCC และหลักการจัดการองค์กรสู่ความสำเร็จตามแนวคิดของ Henri Fayol. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2566, จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190626-poccc-henri-fayol/
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rded.). New York: Harper and Row Publication.