ศักยภาพการปฏิบัติงานและการป้องกันข้อผิดพลาดในงานบัญชี ที่ส่งผลต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการปฏิบัติงานและการป้องกันข้อผิดพลาดในงานบัญชีที่ส่งผลต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานครเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 395 ข้อมูล โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ และทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple linear regression)
พบว่า ศักยภาพการปฏิบัติงานทางบัญชี ด้านความรู้ในวิชาชีพ ด้านเจตคติ ด้านทักษะทางวิชาชีพ และด้านเจตคติส่งผลต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร ด้านความรับผิดชอบ ด้านการให้บริการลูกค้า ด้านการตัดสินใจ ด้านความเป็นผู้ประกอบการ ด้านการแก้ไขด้านปัญหา และมีเทคนิคเชื่อถือได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการป้องกันข้อผิดพลาดในงานบัญชี ด้านการฝึกอบรมด้านความรับผิดชอบ ด้านเทคโนโลยีส่งผลต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร ด้านความรับผิดชอบ ด้านการให้บริการลูกค้า ด้านการตัดสินใจ ด้านความเป็นผู้ประกอบการ ด้านการแก้ไขด้านปัญหา และมีเทคนิคเชื่อถือได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 25567, จาก https://www.dbd.go.th/data-storage/attachment/2110f126dce55e4422771e617.pdf
แคทรียา วันวงศ์. (2564) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 120- 134.
จิรวุฒิ แดงสอาด. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะของนักบัญชีที่มีต่อคุณภาพของรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสิงห์บุรี (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานของสำนักงานบัญชี คุณภาพในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นภัทร จันทรจตุรภัทร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งเน้นสมรรถนะทางด้านวิชาชีพบัญชีแบบมืออาชีพ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 111-124.
นริศรา ธรรมรักษา. (2563). ผลกระทบของทักษะในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานการตรวจสอบภายในของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขต พื้นที่จังหวัดเลย.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(51), 24-32.
นฤนาถ ศราภัยวานิช. (2563). คุณภาพงบการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตรและการสื่อสาร, 8(2), 21-30.
ศิริขวัญ ผลวิจิตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่าย การเงินการบัญชี หน่วยงานราชการ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
หทัยรัตน์ คำฝั้น และจีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ. (2560). วิสัยทัศน์ทางบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านบัญชีของธุรกิจโรงแรมในเขตภาคเหนือของ ประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 135-146.
Hinkle, D.E, William, W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4thed. New York: Houghton Mifflin.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.